การจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดรวบยอดสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • อนงค์พร บุญมีมาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สรวงพร กุศลส่ง
  • วิชญาพร อ่อนปุย

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, มุมคณิตศาสตร์, มอนเตสเซอรี่, ความคิดรวบยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ 2. เปรียบเทียบทักษะความคิดรวบยอดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 4-5ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2563 โรงเรียนบ้านปากดุก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1) แผนการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์
ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ จำนวน 20 แผน 2) คู่มือและการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ 2. เปรียบเทียบทักษะความคิดรวบยอดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 4-5ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2563 โรงเรียนบ้านปากดุก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1) แผนการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ จำนวน 20 แผน 2) คู่มือและชุดกิจกรรมมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ จำนวน 20 ชุด 3) แบบทดสอบวัดทักษะความคิดรวบยอด จำนวน 1 ชุด โดยใช้แบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ หลังการจัดกิจกรรมพบว่า โดยภาพรวมมีผลคะแนนค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะความคิดรวบยอด ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ โดยภาพรวมที่ดำเนินการเปรียบเทียบ จำนวน 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านการนับจำนวน 2) ด้านการจำแนกประเภท และ 3) ด้านการเปรียบเทียบ ผลพบว่าหลังการจัดกิจกรรมมีค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ชุดกิจกรรมมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิด
มอนเตสเซอรี่ จำนวน 20 ชุด 3) แบบทดสอบวัดทักษะความคิดรวบยอด จำนวน 1 ชุด โดยใช้แบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่
หลังการจัดกิจกรรมพบว่า โดยภาพรวมมีผลคะแนนค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะความคิดรวบยอด ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่
โดยภาพรวมที่ดำเนินการเปรียบเทียบ จำนวน 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านการนับจำนวน 2) ด้านการจำแนกประเภท และ 3) ด้านการเปรียบเทียบ ผลพบว่าหลังการจัดกิจกรรมมีค่าร้อยละพัฒนาสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรรณิการ์ สุริยมาตร .(2560). การพัฒนากิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคปในการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊คส์.

คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุไรศิริ ชูรักษ์. (2557). การเรียนรู้ความคิดรวบยอด. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

จุฬินฑิพา นพคุณ. (2560). การสอนแบบมอนเตสซอรี่ในบริบทไทย. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บานเย็น ชุมภู. (2555). ผลจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปณิชา มโหสิทธยากร. (2554). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลาวัณย์ ทิพย์สุวรรณพร. (2556). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแบบวางแผนปฏิบัติ ทบทวน ที่มีต่อการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดท่ามะปรางจังหวัดสระบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์. 11 (1): 16.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2554). ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (2): 2.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.

Freud. (1985). Early childhood play. [Online]. Accessible: https://sites.google.com/site/Dekthiyniphakhti. (January 19, 2020).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

บุญมีมาก อ., กุศลส่ง ส., & อ่อนปุย ว. (2023). การจัดกิจกรรมเสรีมุมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดมอนเตสเซอรี่ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดรวบยอดสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/256729