การวิเคราะห์การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค
คำสำคัญ:
สินค้าแฟชั่น, เฟสบุ๊ค, ดิจิทัลไทยแลนด์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ อาศัยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านทางเฟสบุ๊ค จำนวนทั้งสิ้น 400 ราย นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองโลจิต
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นผ่านช่องทางเฟสบุ๊คมีทั้งสิ้น 8 ปัจจัย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ราคาที่เป็นตัวเงินโดยเปรียบเทียบระหว่างซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นทางช่องทางเฟสบุ๊คและทางร้านค้าปกติ จำนวนครั้งในการซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นจากเฟสบุ๊ค ประสบการณ์การใช้เฟสบุ๊ค และปัญหาหรืออุปสรรคที่ผู้บริโภคคำนึงถึงในประเด็นเรื่อง ความไม่แน่ใจว่าจะได้รับสินค้าหรือไม่ กลัวเปลี่ยนสินค้าไม่ได้หากชำรุดหรือไม่พอใจคุณภาพสินค้า การไม่เห็นสินค้าจริงทำให้ไม่แน่ใจหรือลังเลในการตัดสินใจซื้อ ความไม่แน่ใจในระยะเวลาที่จะได้รับสินค้าหรือกลัวต้องรอนาน และการกลัวสินค้าสูญหายระหว่างการจัดส่ง
References
กิตติอําพล สุดประเสริฐ และศรายุทธ ขวัญเมือง. (2561). การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการขายสินค้าออนไลน์ในตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2561.
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2563). สถิติและพฤติกรรมการใช้ social media ทั่วโลก Q1 ปี 2020, สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563. จาก https://www.twfdigital.com/blog/ 2020/02/global-social-media-usage-stats-q1-2020/
ปานแก้วตา นิลออ. (2550). การศึกษารูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสสําหรับการซื้อขายหนังสือมือสอง. งานวิจัยเฉพาะกรณีมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา ธนฤทธิพร. (2544). ความไว้วางใจกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาการซื้อขายสินค้าปลีกของผู้บริโภคในบุคคลที่มีการศึกษาสูงในเขต กทม. งานวิจัยเฉพาะเรื่องโครงการเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรัญญา ติโลกะวิชัย และณัฐธยาน์ ชุติพงศ์พิมล. (2563). องค์ประกอบของแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการซื้อ กระเป๋าผ้าพรีเมี่ยมผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 76-94.
ศิริลักษณ์ โรจนอำนวย. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบธุรกิจกับผู้บริโภคของไทย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร.
เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัยได้รับเงินทุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2559.
Koivumäki, T., Svevto, R., Pertunen, J., and Oinas-Kukkonen, H. (2002). Consumer choice behavior and electronic shopping systems – a theoretical note. Netnomics, 4, 131-144.
Koyuncu C. and Lien D. (2003). E-commerce and consumer’s purchasing behaviour. Applied Economics, 35, 721–726.
STEPS ACADEMY. (2019). 9 Statistics Need to Know for Marketing through Facebook (Update 2019). Retrieved October 10,2020, from https://stepstraining.co/ trendy/9-stat-facebook-2019
Yamane, T. (1967). An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York University: HAPPER & ROW, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต