การศึกษาผลกระทบและการปรับตัวแบบวิถีชีวิตใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • กัลยกร วงศ์รักษ์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ปิยจิตร สังพานิช คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อรินทร์ศักดิ์ รัตนะวงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม-ชัยนาท มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อำนาจ ภักดีโต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • วิจิตร จารุโนประถัมภ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ภควัต รัตนราช สาขาวิชาบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การปรับตัว, วิถีชีวิตใหม่, โควิด-19, จังหวัดชัยนาท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชัยนาท 2. ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามประชาชนทั่วไปในจังหวัดชัยนาท จำนวน 410 ครัวเรือน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.71 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.83 และรายได้รวมทั้งครอบครัวเฉลี่ยไม่เกิน 30,000 บาท ร้อยละ 90.24  ผลกระทบและการปรับตัวของกลุ่มตัวอย่างในด้านต่าง ๆ พบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้ลดลง ร้อยละ 78.54 และมีการปรับตัวโดยการวางแผนทางการเงิน ร้อยละ 86.73 2) ด้านสุขภาพ เกิดผลกระทบทำให้สมาชิกในครัวเรือนมีความเครียด/วิตกกังวลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 93.41 มีการป้องกันและดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 95.85 โดยสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าอยู่ตลอดเวลาเมื่ออยู่กับผู้อื่น ร้อยละ 91.95 รับประทานอาหารสุกใหม่ ร้อยละ 90.73 และ 3) ด้านการศึกษา นักเรียนมีการเรียนโดยระบบออนไลน์มากขึ้น ร้อยละ 61.95 ซึ่งทำให้เป็นภาระต่อผู้ปกครองด้านค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ร้อยละ 60.24 และเด็กต้องเรียนชดเชยมากขึ้น ร้อยละ 60.24 มีการปรับตัวโดยให้คนในครอบครัวแบ่งเวลาสอน/ดูแลลูก/หลาน ร้อยละ 43.17 ประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชัยนาทมีการปรับตัวแบบวิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่นจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยมีแนวโน้มที่สนใจวางแผนการใช้เงินและดูแลสุขอนามัยมากขึ้น

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ และภานุชนาถ อ่อนไกล. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-148.

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชัยนาท. (2564, มีนาคม 10). ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชัยนาท, ศาลากลางจังหวัดชัยนาท. การปรับตัวของสมาชิกในชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่. สัมภาษณ์.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลัง COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://workpointtoday.com/education-covid-19-4.

รัฐบาลไทย. (2564). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 12 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details /38232?fbclid=IwAR2eJhvc5IJJs SOcan1xSmPCxmkA6OHJGCMPiG32Q-Q0VWX18-KFgs9edJ4.ฃ

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดชัยนาท. (2564). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.chainat.go.th/covid-19/covid.htm.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). ครัวเรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1): 24-29.

Haleem, A., A. Javaid & R. Vaishya. (2020). Effects of COVID-19 pandemic in daily life. Current Medicine Research and Practice, 10(2), 78-79.

Stephen, A. L., Grantz, K. H., Bi, Q.; Jones, F.K., Zheng, K., Meredith, H.R, Azman, A.S., Reich, N.G. & Lessler, J. (2020). The incubation period of coronavirus disease 2019 (COVID-19) from publicly reported confirmed cases: estimation and application. American College of Physicians (United States), https://doi.org/10.7326/M20-0504

World Health Organization. (2020a). Origin of SARS-CoV-2. Accessed May 9, 2021. https://www.who.int/publications/i/item/origin-of-sars-cov-2

World Health Organization. (2020b). COVID-19 Clinical management: living guidance. Accessed May 9, 2021. https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-clinical-2021-1.

Worldometer. (2021). COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC. Accessed May 24, 2021. https://www.worldometers.info/coronavirus.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26

How to Cite

วงศ์รักษ์ ก., สังพานิช ป., รัตนะวงษ์ อ., ภักดีโต อ., จารุโนประถัมภ์ ว., & รัตนราช ภ. (2023). การศึกษาผลกระทบและการปรับตัวแบบวิถีชีวิตใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 28–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/254021