ปัจจัยทำนายระดับความเครียดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ความเครียด, ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย, การจัดการความเครียด, การสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยทำนายระดับความเครียดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีใบอนุญาตจำหน่ายสินค้า จำนวน 49 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้าร์และสถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความเครียดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลตำบลจอมบึงโดยรวมมีระดับความเครียดน้อยร้อยละ 69.42) ปัจจัยทำนายระดับความเครียดของผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ได้แก่ การจัดการความเครียดด้านการแก้ไขปัญหาที่สามารถทำนายระดับความเครียดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายได้ร้อยละ 30.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยนี้สามารถเป็นประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนาการจัดการความเครียดให้แก่ประชาชน
ผู้ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพต่อไป
References
กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณาสุขใน โรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง.(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมสุขภาพจิต. (2559). คนไทยพยายามฆ่าตัวตาย ชม.ละ 6 คน กรมสุขภาพจิตแนะสังเกต10สัญญาณเตือน.สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29788.
ชนิกานต์ ขำเหมือน. (2558). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม. ปริญญาวิทยาศาตสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.
พิมพ์ ศรีทองคำ. (2557). ความเครียดในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการในบริษัทเอกชนที่นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.กรุงเทพฯ.
ประกายทิพย์ ศิริวงศ์. (2552). การศึกษาความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลศิริราช, 3(1), 1-14.
วรางคณา เอกอัจฉริยา. (2557). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน ความเครียดกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานขายทางโทรศัพท์ในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),7(14), 77-95.
สุทธานันท์ กัลป์กะ, (2557). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพยาบาลภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 289-303.
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2557). คนไทยเครียดเรื่องอะไรและภาคส่วนใดเป็นอาชีพที่เครียดที่สุด,สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563,จาก https://www.ryt9.com/s/bkp/2005730.
สำนักงานเทศบาลตำบลจอมบึง. (2563). สภาพเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลจอมบึง,สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563,จากhttps://bit.ly/3BjsI55.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ปี 2563.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุทุมพร เมืองมานา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความเครียดของพนักงานธนาคาร สินเอเชีย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2559). ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจตำรวจภูธร สังกัดตำรวจภูธรภาค 2. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี.
Cigna Insurance Public Company Limited. (2019). 360° Health and Wellbeing Score Survey,RetrievedDecember 8,2020 from https://stock.newsplus.co.th/179362
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต