ผลการจัดประสบการณ์โครงการที่มีต่อทักษะความเป็นผู้ประกอบการสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สุมนมาลย์ อินทรง นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ชลาธิป สมาหิโต
  • ปิยะนันทร์ หิรัณย์ชโลทร

คำสำคัญ:

โครงการ ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์โครงการที่มีต่อทักษะความเป็นผู้ประกอบการสำหรับเด็กปฐมวัย  กลุ่มประชากร คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านทุ่งประทุน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 13 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์โครงการ แบบประเมินทักษะและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โครงการมีคะแนนทักษะความเป็นผู้ประกอบการสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยพบว่าหลังการทดลอง เด็กสามารถริเริ่มออกแบบตราสัญลักษณ์และหีบห่อที่มีความแปลกใหม่ มีการวางแผนการเรียนรู้ความเป็นผู้ประกอบการและสร้างผลิตภัณฑ์ตามลำดับขั้นตอน สามารถควบคุมตนเองให้ทำงานจนสำเร็จและบอกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการเรียนรู้ความเป็นผู้ประกอบการได้

References

แก้วตา กัญหาชนะ. (2563). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพฤติกรรมด้านสังคมและพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนขามป้อมประชานุกูล จังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 28(1) 14-21.

จิราภรณ์ วสุวัต. (2540). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมจริยธรรมทางสังคมของเด็กวัยอนุบาลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยการใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการ.วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ชลาธิป สมาหิโต. (2560). เอกสารประกอบการสอน “พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย”. นนทบุรี: อัดสำเนา (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานเป็นฐานในระดับปฐมวัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไซเบอร์พรินท์กรุ๊ป จำกัด.

ญานิภา จงบุรี. (2553). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(4) 47-60.

พรพรรณ สุริวงษ์. (2558). โอกาสทองสร้างคุณภาพคน ต้องปูพื้นฐานช่วง 5 ปีแรก.สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2558,ไทยรัฐ, https://www.thaihealth.or.th/

ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร.(2563). การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneruship Education). กรุงเทพฯ บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

ลภัสรดา คำสงค์ และคณะ. (2557). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 15(2),114-124.

ศศิธร อินตุ่น. (2551) การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงการ. การประชุมทางวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ 13 1-8. กรุงเทพฯ:

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สำนักนายกรัฐมนตรี (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 - 2564. กรุงเทพฯ: อัดสำเนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2561). รายงานการวิจัยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

Chard,C.S.(1999). The project approach a study guide. http://projectapproach.org/wp-content/uploads/2014/10/Project-Approach-Study-Guide.pdf.

Lizza.S,& Siti,M. 2017,Januar. Entrepreneurship Learning for Early Childhood: Paper presented at the 2nd INTERNATIONAL Conference on economic Education and Entrepreneurship, Indonesia,403-410.

Matta ,et al (2015).Development of entrepreneurship learning model for early childhood. Asia Pacific Journal of Multidisciplinary Research: Vol. 3.NO.3 (pp. 65-70). Yogyakarta State University, Indonesia.

Office of Child Development and Early Learning. (2016). Pennsylvania Learning Standards for Early Childhood Grade 1. Pennsylvania Department of Education.

Wood. (2016). How to start,run & build a Lemonade Stand (for kids ages- 9& up). E-Seedling, LLC

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27

How to Cite

อินทรง ส., สมาหิโต ช., & หิรัณย์ชโลทร ป. (2022). ผลการจัดประสบการณ์โครงการที่มีต่อทักษะความเป็นผู้ประกอบการสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/253373