พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ในธุรกิจร้านอาหารของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์, ธุรกิจร้านอาหาร, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ในธุรกิจร้านอาหารของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบและปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดออนไลน์ในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจร้านอาหารได้อย่างเหมาะสม เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างในกรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามในลักษณะปลายปิด และปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อ และการทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัยและแสดงข้อมูลทางสถิติวิเคราะห์ พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ( =51.7) มากกว่าเพศชาย ( =48.3) อายุระหว่าง 60-69 ปี ( =55.8) ระดับการศึกษาปริญญาตรี ( =53.3) มีสถานภาพสมรส ( =79.0) มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ( =53.3) และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) ประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจร้านอาหารมีความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ 1-3 วัน/ครั้ง ( =86.5) ใช้สื่อออนไลน์ในการสั่งอาหารและเครื่องดื่มในวันอาทิตย์ ( =58.5) สั่งอาหารและเครื่องดื่มเวลา 12.00-15.00 น. ( =43.5) โดยสั่งอาหารและเครื่องดื่มผ่าน Grab Food ( =79.3) และ Line ( =70.0) 3) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจร้านอาหารของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( =3.59) มี 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก และอีก 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 50 เขต รวมผู้ให้สัมภาษณ์ 50 คน พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลการปรับปรุงและพัฒนาเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ หรือ แอปพลิเคชันสั่งอาหารในด้านขั้นตอนการดำเนินการปรับรูปแบบการดำเนินการให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยปรับขนาดตัวอักษร ความดึงดูดใจในการสั่งซื้อ
References
กันตพล บันทัดทอง. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 18). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2556). เลขาธิการ ก.พ. เผยเตรียมปรับอายุเกษียณ. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563, จาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php
สุภาวดี ปิ่นเจริญ. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการจองร้านอาหารผ่านโมไบล์แอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
Basu, S. (2018). Information search in the internet markets: Experience versus search goods. Electronic Commerce Research and Applications, 30, 25-37.
Cui, Y., Mou, J., & Liu, Y. (2018). Knowledge mapping of social commerce research: a visual analysis using CiteSpace. Springer Science+Business Media.
Doha, A., Elnahla, N., & McShane, L. (2019). Social commerce as social networking. Journal of Retailing and Consumer Services, 47, 307–321.
Han, H., Xu, H. & Chen, H. (2018). Social commerce: A systematic review and data synthesis. Electronic Commerce Research and Applications, 30, 38-50.
Huang, Z., & Benyoucef, M. (2017). The effects of social commerce design on consumer purchase decision-making: An empirical study. Electronic Commerce Research and Applications, 25, 40–58.
Paitoon, P. (2018). Factors Influencing a Thai Individual’s Trust and Distrust in Social Commerce. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 18(3), 757-808.
Tang, J., & Zhang, P. (2018). The impact of atmospheric cues on consumers’ approach and avoidance behavioral intentions in social commerce websites. Computers in Human Behavior, 10(1016), 38–48.
Tapscott, D. (2015). The digital economy. ANNIVERSARY EDITION: rethinking promise and peril in age of networked intelligence. (2nd ed.). New York: Mc Graw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต