ผลของการฝึกควบคุมจิตใจที่มีต่อความวิตกกังวลแบบสถานการณ์และความสามารถในการยิงปืนของนักกีฬา

ผู้แต่ง

  • ราชันย์ เฉลียวศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
  • คมกริช ฆ้องนำโชค สาขาวิชาการจัดการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การควบคุมจิตใจ, ความวิตกกังวลแบบสถานการณ์, นักกีฬายิงปืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในช่วงเวลาก่อนการฝึก ช่วงเวลา 7 วัน และ 1 วัน ก่อนการแข่งขัน และ 2. เปรียบเทียบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในช่วงเวลาก่อนการฝึก ช่วงเวลา 7 วัน และ 1 วัน ก่อนการแข่งขันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 3)เปรียบเทียบคะแนนการยิงปืนภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับสลากจากนักกีฬายิงปืน เพศชาย อายุระหว่าง 18-20 ปี ที่เข้าร่วมการแข่งขันยิงปืนชิงชนะเลิศแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2563 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกควบคุมจิตใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 แบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และแบบทดสอบการยิงปืน ระยะ 10 เมตร ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีทดสอบซ้ำเท่ากับ.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ LSD                       

ผลการวิจัย พบว่า 1. ความวิตกกังวลแบบสถานการณ์ในช่วงเวลาก่อนการฝึก 7 วัน และ 1 วัน ก่อนการแข่งขัน ภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. คะแนนความวิตกกังวลแบบสถานการณ์ในช่วงเวลา7 วัน และ 1 วัน ก่อนการแข่งขันของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนการยิงปืนในช่วงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีแนวโน้มคะแนนการทดสอบยิงปืนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า

References

ปรีชา กลิ่นรัตน์. (2560). การเป็นโค้ชกีฬามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟิวเจอร์เพรสแอนด์กราฟฟิค.

วิชัย ยีมิน, สุพัชริน เขมรัตน์ และอภิลักษณ์ เทียนทอง. (2561) ปัจจัยทางจิตใจและยุทธวิธีทางจิตใจในช่วงการฝึกซ้อมของ นักกีฬาฟุตซอลชั้นเลิศ: จำแนกตามตำแหน่งการเล่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาปีที่18 ฉบับที่1.

วิมลมาศ ประชากุล. 2551. ทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทย:

สร้างทฤษฎีจากข้อมูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมาคมยิงปืนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2550). ประวัติกีฬายิงปืน.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2563 จาก https://sites.google.com/site/reuxngkila/prawati-kila-ying-pun.

สุพัชริน เขมรัตน์. (2562). จิตวิทยาการกีฬาพื้นฐานแนวทางการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพิตร สมาหิโต. (2546). จิตวิทยาการกีฬาสาหรับผู้ฝึกสอนและนักกีฬา.สารวิทยาศาสตร์การกีฬา. 1, 35 (3): 11-17.

โสภิต สุวรรณเวลา,นฤมล ศิลวิศาล,วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ และอนัญญา คูอาริยะกุล. (2562). ความวิตกกังวลและการจัดการความวิตกกังวลของผู้ปกครองที่มีบุตรป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์ตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ,11, (1)หน้า 55.

อาพรรณชนิตศิริแพทย์. (2557). การจินตภาพทางการกีฬาแบบแพ็ทเลป(PETTLEP), วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 หน้า 1-12.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for behavioral science. (2nded.). illsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Cox, R. H., Martens, M. P., & Russell, W. D. (2003). The revised competitive state Anxiety inventory-2. Citation. Journal of Sport & Exercise Psychology, 25(4), 519-533.

Hemmatinezhad, (2012). Relationship between emotional intelligence and athlete’s mood with team-efficiency and performance in elite-handball players. International Journal of Sport Studies, 2(3), 155-162.

Larry, K. W., J. H. and Costill, D. L., (2015). Physiology of Sport and Exercise (Vol.6thed). Champaign, IL: Human Kinetics.

Weinberg, R. S., & Gould, D. (1995). Foundation of sport and exercise psychology. Champaign, IL: Human Kinetics.

Martens, R. (1982). Sport competition anxiety test. Champaign IL: Human Kinetics.

Soflu, H. G., Esfahani, N., and Assadi, H., (2011). The Comparison of emotional intelligence and Physiological skill and their relationship with experience among individual and team athletes in supior league: Procedia Social and Behavioral Sciences, 30, 2394-2400.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26