รูปแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ทยากร สุวรรณภูมิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พรสวรรค์ มณีทอง สาขาวิชาดนตรี คณะมนุุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พงษ์วิกรานต์ มหิทธิพงศ์ สาขาวิชาดนตรี คณะมนุุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สุนทรียภาพ, ผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาและออกแบบกิจกรรมในการเสริมสร้างสุนทรียภาพทางดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ  ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์ การสังเกต การสร้างบทเรียน และการจัดการเรียนการสอน  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง จำนวน 22 คน ผลการศึกษาพบว่ากิจกรรมที่เหมาะสมในการเสริมสร้างสุนทรียภาพทางดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ คือ การร้องเพลง เพราะเป็นกิจกรรมที่ใช้เครื่องดนตรีประกอบจำนวนน้อยหรือไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรี  การร้องเพลงทำให้ผู้สูงอายุมีสภาวะอารมณ์ที่ดี ผ่อนคลาย มีความสนุกสนาน และทำให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น รวมถึงการร้องเพลงจะเป็นสื่อกลางที่ทำให้นักเรียนผู้สูงอายุได้เข้าสังคมมากขึ้น

References

กาญจนา พิบูลย์. (2548). ผลของดนตรีบำบัดต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะ แพทยศาสตร์ งานวิจัยทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2548. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564, จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/470?mode=full

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย ณ. วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จากhttp://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275

ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2535). สังคีตนิยมว่าด้วย ดนตรีตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกรมกิจการผู้สูงอายุกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์สามลดา.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2545-2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ธนพชร, นุตสาระ. (2561). ดนตรีพื้นเมืองล้านนากับการพัฒนาอารมณ์ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561.

พจน์ปรีชา คำมี. (2563, 25 สิงหาคม). สัมภาษณ์.

โรงพยาบาลเปาโล. (2564). ดนตรีบำบัดกับการกำจัดความเครียด. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/

สุวรรณา เตชะธีระปรีดา. (2557). การบริหารจัดการกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลน้ำใส อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจําเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2557.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26

How to Cite

สุวรรณภูมิ ท., มณีทอง พ., & มหิทธิพงศ์ พ. (2023). รูปแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพของผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/252534