การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • อรัญญารัตน์ ศรีสุพัฒนะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • กรรณิกา อุสสาสาร
  • ธวชินี ลาลิน
  • พัจนภา เพชรรัตน์

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน คือ นักศึกษา 24 คน และอาจารย์ 6 คน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่ฝึกมีจำนวน 221 คน หน่วยงานที่นักศึกษาฝึกมีจำนวน 151 แห่ง เป็นหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนและบริษัทเอกชน บทบาทหน้าที่/ตำแหน่งงานที่นักศึกษาฝึกสอดคล้องกับสาขาวิชาที่นักศึกษาอยู่ ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา ได้แก่ ขาดความรู้ความสามารถ/ทักษะ การปรับตัวกับองค์กรยาก ขั้นตอน/กระบวนการฝึกยุ่งยาก และค่าใช้จ่าย ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการฝึกของนักศึกษา ได้แก่ (1) ระดับโปรแกรมวิชา ควรอบรมให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นแก่นักศึกษา ควรนิเทศนักศึกษาทุกคนอย่างน้อย 1 ครั้ง และควรขยายเวลาการฝึก (2) ระดับศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลของหน่วยงาน ช่องทางติดต่อ ขั้นตอนการติดต่อ และข้อมูลที่จำเป็น ควรจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ให้นักศึกษา และควรปรับขั้นตอนการฝึกให้สะดวกขึ้น (3) ระดับหน่วยงาน/องค์กรที่นักศึกษาไปฝึก ควรคำนึงถึงเป้าหมายของฝึก กระตุ้นให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานและประสบการณ์อย่างเต็มที่ ควรประเมินการฝึกอย่างจริงจัง รวมถึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางเมื่อให้นักศึกษาลงพื้นที่

References

ขนิษฐา หินอ่อน. (2555). ปัญหาและแนวทางพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ ไฟฟ์.

เด่นชัย สมปอง. (2555). การศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์: สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนานักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1), 124-134.

ปริญญา ทองคำ. (2562). การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วยระบบแนะนำสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พีย์ พวงมะลิตและคณะ. (2559). คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ภาสกร แห่งศักดิ์ศรี. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Appleton, J. V. (1995). Analysing qualitative interview data: addressing issues of validity and reliability. Journal of Advanced Nursing, 22, 993-997.

Dreamwk. (2563). Soft Skill ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กยุคใหม่ไม่มีไม่ได้. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก https://www.camphub.in.th/soft-skill-for-new-generation/

Tomlinson, C.A. (2001). How to Differentiated Instruction in Mixed-Ability Classroom. 2nd ed. Education. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03