นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ศึกษาเชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
นโยบายการป้องกันการทุจริต, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สงผลให้ เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-DepthInterview) การศึกษาภาคสนาม (Field Study) ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากงานเขียน บทความ
ข้อมูล หรืองานวิจัยที่อาศัยการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารเพื่อนำไปสู้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติคือ นโยบาย ทรัพยากร ลักษณะขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติการติดต่อสื่อสาร กลไกการควบคุมภายใน และนโยบายเพื่อการป้องกันการทุจริต
2) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติคือ ปัจจัยด้านผู้กำหนดนโยบาย ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงานปัจจัยด้านประชาชนและสื่อมวลชน ปัจจัยด้านองค์กรเพื่อการตรวจสอบ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
3) สำหรับแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยคือ หน่วยงานภาครัฐบาลต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติโดยการนำปัจจัยดังกล่าวมาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องให้ความสำคัญถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติโดยการขจัดปัจจัยดังกล่าวให้หมดไป
References
วรเดช จันทศร. (2539). "การนำนโยบายไปปฏิบัติ : ตัวแบบและคุณค่า" ใน เอกสารประกอบการสอนวิชา รศ.740 การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
______ . (2541) การนำนโยบายไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงทพฯ : หจก. สหายบล็อกและการพิมพ์ จำกัด.
______ . (2548) ทฤษฎีการนำนโยบายสรารณะไปปฏิบัติ. กรุงทพฯ : หจก.สหายบล็อกและการพิมพ์ จำกัด.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ.พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สยามจดหมายเหตุ (2545) บันทึกข่าวและเหตุการณ์. พ.ศ.2545. กรุงเทพๆ : บริษัทเอนิวคอร์ปอเรชั่น จำกัด
สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2537). คอร์รัปชั่นกับประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2550). รายงานประจำปี 2550. มปท.
สุรสิทธิ์ วชิรขจร.(2547). การกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยหน่วยงานภาครัฐและประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อรพินพ์ สพโชคชัย และคนอื่น ๆ. (2543). แนวทางการนำหลักการธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
เอนก เหลาธรรมทัศน์ . (2550). สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานประชาธิปไตย. กรงเทพฯ ุ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Banfield, Edward, C. (1975). Corruption as a Feature of Governmental Organization.Cambridge: Harvard University.
Heidenheimer, Arnold J. (1970). Political Corruption: Readings in Comparative Analysis. New York: Holy Rinehart and Winston.
Philip, M. “Defining Political Corruption.” Political Studies. 45 (3) (1997) : 436–462. Van Meter, Donald S. and Van Horn, Carl E. “The policy implementation process :
A conceptual framework.” Administration Society. 6 (4) (February 1975) : 463.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต