การส่งออกผลไม้สดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • อุมา วรรณชัย

คำสำคัญ:

การส่งออก, ผลไม้สด

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกผลไม้สดของประเทศไทย ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมังคุด โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2538-2553 ทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางเศรษฐมิติด้วยแบบจําลองสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis) และทำการประมาณค่าด้วยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least SquaresOLS)

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกทุเรียนสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคาส่งออกทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นของจีน และข้อตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างไทยกับจีน ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคา ส่งออกลำไยสด และข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกมังคุด สดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคาส่งออกมังคุดสด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นของ จีน อัตราแลกเปลี่ยนต่อเงินตราของจีนและข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน

References

กรมศุลกากร. (2554). ข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2554, จาก http://www.customs.go.th
กระทรวงพาณิชย์. (2555ก), ปริมาณออกส่งออกและราคาขายทุเรียนสดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555, จาก http://www 2.ops3.moc.go.th
กระทรวงพาณิชย์. (2555ข), ปริมาณออกส่งออกและราคาขายมังคุดสดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555, จาก http://www 2.ops3.moc.go.th
กระทรวงพาณิชย์. (2555ค), ปริมาณออกส่งออกและราคาขายลำไยสดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2555, จาก http://www 2.ops3.moc.go.th
กระทรวงพาณิชย์, กรมส่งเสริมการส่งออก, 2553, สถิติการส่งออก กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง กระทรวงพาณิชย์, กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2546). เส้นทางอนาคตความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-จีน (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพมหานคร ผู้แต่ง.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2554), อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2554จาก http://www.bot.or.th
วิทยากร เชียงกูล. (2547). เศรษฐกิจจีนในระบบเศรษฐกิจโลก. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สายธาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). มูลค่าของตลาดการส่งออกผลไม้ที่สำคัญ. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2554, จากhttp://www.ops3.moc.go.th สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2554ก), การผลิต. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2554, จาก http://www.oae.go.th
อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาสน์. (2554).เศรษฐกิจจีนในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย, กรุงเทพมหานคร
โอเพ่นบุ๊กส์. อิสร์กุล อรุณหเกตุ. (2548). คลังข้อมูล FTAS. กรุงเทพมหานคร: โครงการ WTO Watch จับกระแส องค์การการค้าโลก.
อุมา วรรณชัย. (2555). การส่งออกผลไม้สดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน, วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
Asian Development Bank. (2011). GDP per capita. Retrieved March 17, 2012, fromhttp://www.pbc.gov.cn

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-09-30

How to Cite

วรรณชัย อ. (2013). การส่งออกผลไม้สดของประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 89–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/252395