ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จันทนา ศรีอมร

คำสำคัญ:

การออม, ประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมของประชาชนในภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2552 ทำการวิเคราะห์ โดยวิธีกําลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares-OLS)

ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ของภาคใต้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับปริมาณเงินฝากของ ประชาชนในภาคใต้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานอย่างมีนัยสําคัญด้วยระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ในส่วน ของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณเงิน ฝากของประชาชนในภาคใต้ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน เนื่องจากประชาชนจะนําเงินไปฝากไว้กับธนาคาร ไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนเป็นหลักแต่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และประชาชน ในภาคใต้ส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก รายได้ที่ได้มานั้นจึงนําเงินไปลงทุนทำการเกษตร โดยการซื้อที่ดิน ต้นกล้ายางพาราและต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

References

กมลทิพย์ แซ่หลี. (2545). ปัจจัยที่กําหนดการออมส่วนบุคคลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง,
กฤตยา ตติรังสรรค์สุข. (2554). เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กองทุนรวม. (2555). การออมกับการลงทุน. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2555, จากhttp://www.thaimutualfund.com
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2554), อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในตลาดเงินของธนาคารพาณิชย์, ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2554, จาก http://www.bot.or.th/
ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานภาคใต้. (2548). รายงานภาวะหนี้ครัวเรือนและผลสํารวจทัศนคติต่อการก่อหนี้และการออมของครัวเรือนในภาคใต้, สงขลา : ผู้แต่ง. ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานภาคใต้. (2552)
รายงานเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้, สงขลา: ผู้แต่ง
ประพันธ์ เศวตนันทน์. (2545). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรธนะ พึ่งแก้ว. (2545). การพยากรณ์ช่องว่างการออมและการลงทุนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง
มะลิวัลย์ แก้วแสน. (2551). ปัจจัยที่กําหนดการออมของครัวเรือนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง
มณีรัตน์ ภิญโญภูษาฤกษ์ และคณะ. (2553). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น. กรุงเทพมหานครสํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2555). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค (พิมพ์ครั้งที่ 15, แก้ไขปรับปรุง), กรุงเทพมหานคร
สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย. (2555). สร้างรากฐานความมั่งคั่งด้วยการออม. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2555 จาก http://www.tfpa.or.th/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจําแนกตามภาค. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2554, จาก http://service.nso.go.th
อัฉรา สงสมพันธ์. (2544). ปัจจัยที่กําหนดการออมภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคําแหง
อรอุมา หนูช่วย. (2553). การวิเคราะห์ปริมาณเงินฝากของประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง
Froyen, R. T. (2001). Macroeconomic Theories & Policies. (จิราภรณ์ ชาวงษ์, ผู้แปล), Bangkok:Pearson Education Indochina.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-09-30

How to Cite

ศรีอมร จ. (2013). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 65–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/252293