ความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง ของผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซีในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ธีรนิยมสุข

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การชุมนุมสาธารณะทางการเมือง, ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง และ พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพส่วนบุคคล และพฤติกรรมทางการเมืองกับความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่มีความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมืองโดยรวมอยู่ ในระดับเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่มีความคิดเห็นในด้านการ จัดเวทีปราศรัยทางการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานที่ ด้านจำนวนคน และ ด้านความเข้มแข็ง ของการมีส่วนร่วมตามลำดับ
  2. ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อข่าวสารการเมืองโดยนําข้อมูลที่ได้ รับมาไตร่ตรอง พิจารณาถึงความถูกต้องของข้อมูลก่อนเสมอ และส่วนใหญ่มีการพูดคุยเรื่องการเมือง กับเพื่อนร่วมงาน รับทราบข่าวสารการเมืองจากหนังสือพิมพ์ มีความไม่แน่ใจในมุมมองความคิดทาง การเมืองและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของตนเอง มีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นครั้งคราว
  3. ผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ที่มีระดับการศึกษา การตอบสนองต่อข่าวสารทางการเมือง กระบวนการสื่อสารทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเลือกเปิดรับสื่อสาธารณะและอุดมการณ์ ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง แตกต่างกัน

References

กฤติยา ยั่งยืน. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองยุคปลายรัฐบาลทักษิณ วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จรูญ สุภาพ. (2538), ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต. (2548). รัฐศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แดน สว่างวัฒน์. (2546). อุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
ตำบล จังหวัดพิษณุโลก, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิลุบล ใจอ่อนน้อม. (2543). การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรมะ สเตเวทิน (2546). หลักนิเทศศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพพิมพ์ พุทธิมน ศิงฆมานันท์. (2547), วัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นําองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัชรา ไชยสาร. (2545). การเมืองภาคประชาชน, กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง,
McNair, Brain. (1995). An Introduction to Political Communication. New York: Routledge. Meadow, Robert G.. (1980). Politics as Communication. University of Michigan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-09-30

How to Cite

ธีรนิยมสุข ศ. (2013). ความคิดเห็นต่อการชุมนุมสาธารณะทางการเมือง ของผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 44–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/252290