แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) การท่องเที่ยววิถีถิ่น 2) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการร้านค้า และชุมชน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านลักษณะที่ตั้ง ชุมชนตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวในระยะใกล้และแบบ One Day Trip และเนื่องด้วยตั้งอยู่ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้ ด้านประวัติศาสตร์ ชุมชนมีประวัติความเป็นมาที่สันนิษฐานว่าอพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีความสำคัญที่เป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมอญ ด้านวิถีชีวิต ชุมชนมีวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิถีชีวิตชุมชนมอญที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยววิถีถิ่น ซึ่งชุมชนมีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ รักษาวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของชาวมอญ ด้านกิจกรรม ชุมชนมีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชาวมอญ โดยสร้างการมีส่วนร่วมให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือปฏิบัติ เสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว 2)แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ด้านแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนอาจมีการสร้างแนวกั้นน้ำในลำคลองหรือเป็นที่กันน้ำเพื่อให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุดซึ่งอาจมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการการระบายน้ำ หรือการเดินท่อน้ำที่ถูกต้อง ด้านบริการทางการท่องเที่ยว ชุมชนควรมีการออกแบบและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่สอดคล้องกับลักษณะสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตในชุมชน ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนควรมีการจัดทำเว็ปไซต์ของชุมชนโดยมีการให้ข้อมูลประวัติความเป็นมา แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ที่พัก และกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2558). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/worke_book/ eb1/std 210550/ 22/22.htm.
กาญจนาวดี พวงชื่น และแสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 29-42.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). วิถีไทยในกระแส, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2015/menu-12015/637-12015-thai-stream.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2552). การท่องเที่ยวในชนบท. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรการ
ท่องเที่ยว หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อเป็นนักสื่อความหมายท้องถิ่น. วารสาร สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(2), 1-11.
พระครูโพธิสุวรรณคุณ. (2562). ทุนทางสังคม : แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชน
ลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1197-1216.
นิธิภัทร บาลศิริ. (2559). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
รุ่งทิวา ท่าน้ำ และอธิป จันทร์สุริย์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 89-110.
ระพีพัฒน์ เกษโกศล (2557). การจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น ชุมชนเกาะศาลเจ้าและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตพันธ์ และศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคม
ออนไลน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(1), 21-31.
ศุภกิจ ยิ้มสรวล. (2561). แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวและภูมิสถาปัตยกรรมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติประเภทพุน้ำร้อน. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 5(2), 100-129.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน. (2562). การท่องเที่ยวชุมชน, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก https://www.gsb.or.th/getattachment/3629a2d- 169a-4bc4-8ecc-38d3769b1211/GR_report_travel_internet_detail.aspx.
สินธุ์ สโรบล. (2547). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารประชาคมวิจัย, 57, 15-21.
สุนิษา กลิ่นขจร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทยเพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองร้อยเกาะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล สาแหรกทอง วงศ์ธีรา สุวรรณิน และสุรเชษฐ์ โซวเกียรติรุ่ง. (2559). กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนมอญบางกระดี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, 443-450. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อธิป จันทร์สุริย์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Nulty, P. M. (2014). Keynote Presentation: Establishing the Principles for Sustainable Rural Tourism, Rural Tourism in Europe: Experiences. Development and Perspectives, WTO.