กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนบ้านสวนหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ผู้แต่ง

  • อัยรินทร์ เกลื้อคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การขับเคลื่อน, การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน, ทักษะการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) กลยุทธ์การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสวนหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) คู่มือกลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสวน มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00  2) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน มีค่าความสอดคล้องอยู่ที่ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า

ผลการวิจัย พบว่า

  1. กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสวนหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 มี 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วม กลยุทธ์การสื่อสาร และกลยุทธ์การประสานงาน
  2. กลยุทธ์ที่ครูใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสวนหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งได้โครงงานในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน จำนวน 12 โครงงาน
  3. ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเฉลี่ยรวมผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหา คือ 15.93 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพ ดี ร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 45.13

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊ค.
ทัศนพร วิบูลย์อรรถ, อาจินต์ ไพรีรณและประสาท เนืองเฉลิม. (2556). การเปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่าง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปวัลย์รัตน์ สุวรรณโคตร. (2558). การใช้วิธีการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL) ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รังศิมา ชูเทียนและทศพร แสงสว่าง. (2557). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์
อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริกาญจน์ โกสุมและดารณี คำวัจนัง. (2544). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ : ทิปพับบลิเคชั่น.
สุภาพร สะอาดนัก. (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียน
บ้านหนองปืนแตก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต . มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำนักงานเลขาธิการการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24