กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายครูเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ในศูนย์เครือข่ายนิคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2
คำสำคัญ:
กลไกการขับเคลื่อนเครือข่าย, ทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายครูเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในศูนย์เครือข่ายนิคม อำเภอชะอำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2) ศึกษากลไกการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายนิคม อำเภอชะอำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายนิคม อำเภอชะอำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูเครือข่ายในศูนย์นิคมจำนวน 7 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในศูนย์เครือข่ายนิคม จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือกลไกการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในศูนย์เครือข่ายนิคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และแบบประเมินทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายครู เพื่อการพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายนิคม อำเภอชะอำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม มี 5 ขั้นตอน 1) ประสานความร่วมมือหน่วยงานหลักในการสร้างเครือข่าย 2) ประชุมกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสร้างกลไกการขับเคลื่อนเครือข่าย 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นของโรงเรียนเครือข่ายในการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียน 4) พัฒนาครูเครือข่ายเพื่อพัฒนาเพื่อการพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร ครู และนักเรียนของโรงเรียนในศูนย์เครือข่าย
- ผลการใช้กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายครู เพื่อการพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายนิคม พบว่า ครูในเครือข่ายร่วมกันพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response) และการใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้
- ผลการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในศูนย์เครือข่ายนิคม อำเภอชะอำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 หลังการใช้กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายครู เพื่อการพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษของนักเรียน อยู่ในระดับดี และมีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 32.65
ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายจะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูในการนำกระบวนการไปพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาภาษาอังกฤษของนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีระดับคุณภาพทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนรายวิชาเคมีอินทรีย์และปฏิบัติการ 2. วิทยานิพนธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
คําพันธ์ แสนสุข และอุบล สรรพัชญพงษ์. (2556). การศึกษาการเรียนรู้การฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10
ซีรีน ชุมวรฐายี. (2557). ประสิทธิผลของการสอนแบบตอบสนองด้วยทำทางต่อการเรียนรู้คําศัพท์ และความคงทนในการจดจําคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยูร อัครบวร. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปทิตตา ติวงค์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พระดาวเหนือ บุตรสีเทา. (2557). การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพฑูรย์ นิยมนา และคณะ. (2552). โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการสังคมระดับอำเภอกรณีศึกษาอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการวิจัย. ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เครือข่ายกองทุนสวัสดิการระดับอำเภอ เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน สนับสนุนโดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดนครราชสีมา
ยุรนันท์ วรรณรักษ์. (2562). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วรางคณา เค้าอ้น. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต