การเปรียบเทียบตัวแบบการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิ คำเมือง 0846030818
  • ไพรัชช์ จันทร์งาม
  • ธราทิตย์ เกตุหอม

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ, วิธีโครงข่ายประสาทเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาที่กำลังศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 5 จำนวน 156 คน และนักศึกษาที่กำลังศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวน 103 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยรวบรวมจากเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และวิธีโครงข่ายประสาทเทียม ผลการวิจัยพบว่าวิธีโครงข่ายประสาทเทียมได้ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยน้อยกว่าวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมได้ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ เป็น 0.282 และ 0.398 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์มี 8 ปัจจัย ได้แก่ เพศ (x1), สถานภาพบิดามารดา (x2 ), อาชีพเสริมระหว่างเรียน (x9), ภูมิลำเนา (x12 ), ขนาดของโรงเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (x15), ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (x17 ), พฤติกรรมในการเรียน (x19 ) และ สภาพแวดล้อมในการเรียน ( x24) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้

Y=0.294-0.1349x1+0.0657x2-0.216x9-0.056x12-0.0676x15+0.9017x17+0.1849x19-0.1202x24

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มี 9 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพบิดามารดา (x2 ), รายได้ของครอบครัวต่อเดือน (x5 ), ชั้นปี (x7 ), อายุ (x8 ), ภูมิลำเนา (x12 ),ขนาดของโรงเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (x15 ), ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (x17 ) ปัจจัยทางด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เจตคติและแรงจูงใจต่อการเรียน (x18 ) และ หลักสูตรของการจัดการเรียนการสอน (x25 ) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้

Y=-0.155-0.0846x2+0.0635x5-0.109x7+0.2098x8-0.0951x12-00873x15+0.8807x17+0.2122x18-0.2152x25

References

กิตติเชษฐ์ นนทะสุด และธีรพจน์ เวศพันธุ์. (2560). แบบจำลองการพยากรณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 124-136.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิตพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูใจ คูหารัตนไชย และสุจิตรา สุคนธมัต. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับผลการเรียนในชั้นปีที่ 1 ของนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 29(2), 1-15.

ธนาวุฒิ ประกอบผล (2555). การเปรียบเทียบผลการพยากรณ์เกรดเฉลี่ยระหว่างวิธีโครงข่าประสาทเทียมกับวิธีการถดถอยพหุคูณจากพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(31): 49-64.

สิริกัลยา ประมวล, กมลชนก พานิชการ และนัทธีรา สรรมณี. (2552). วิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและโครงข่ายประสาทเทียม โดยใช้องค์ประกอบหลักในการพยากรณ์อินทรียวัตถุในดิน. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1): 79 – 87.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2563). คู่มือประกันคุณภาพระดับหลักสูตร. สืบค้นเมื่อ 24 นิถุนายน 2563, จาก http://oapr.bru.ac.th/คู่มือประกันคุณภาพ-มหาว.

K. Panklib, et. al., (2015). Electricity Consumption Forecasting in Thailand Using an Artificial Neural Network and Multiple Linear Regression. Energy Sources, Part B: Economics, Planning, and Policy, 10(4): 427-343.

Zhang et. al., (1998). Forecasting with artificial neural networks: The state of the art. International Journal of Forecasting 14(1): 35-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

คำเมือง เ., จันทร์งาม ไ., & เกตุหอม ธ. (2023). การเปรียบเทียบตัวแบบการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 78–94. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/249508