การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบของกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านห้วยกะโหลก ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ข้าวเกรียบ, กลุ่มผู้สูงอายุ, ตราสินค้า, ฉลากสินค้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ และเพื่อพัฒนาตราผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุกลุ่มผลิตข้าวเกรียบบ้านห้วยกะโหลก ตำบลแม่ปะ ประกอบด้วย ประธานกลุ่ม รองประธาน และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของกลุ่มข้าวเกรียบยังต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบมีมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งใช้การวิเคราะห์จากทฤษฎีการตลาดทางสังคม ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบควรเพิ่มรสชาติใหม่ตามกระแสนิยมปัจจุบันเพื่อสุขภาพ ส่วนกรรมวิธีการผลิตยังคงรักษาไว้เช่นเดิม และเน้นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่น ด้านราคา การตั้งราคาข้าวเกรียบมีราคาต่ำเกินไปซึ่งการตั้งราคาต่ำนั้นเป็นผลมาจากลักษณะของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตไม่ได้เน้นเรื่องของการบรรจุหีบห่อ ด้านสถานที่ ส่วนใหญ่ผลิตและขายที่ร้านค้าของกลุ่ม มีเพียงคนในชุมชนเท่านั้นที่ทราบว่ามีข้าวเกรียบขายอยู่ ไม่มีการจัดจำหน่ายนอกสถานที่ และด้านการส่งเสริมการตลาด ยังไม่มีการส่งเสริมการตลาดมีเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะที่เข้ามาให้ความรู้เท่านั้น สำหรับการพัฒนาตราผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบ ได้มีการพัฒนาตราสินค้าที่นำเอาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาเป็นแนวทางออกแบบ โดยใช้บริบทของพื้นที่ซึ่งพบว่า อัตลักษณ์ของพื้นที่จะให้ความสำคัญต่อชื่อเรียกของหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านห้วยกะโหลก คำว่า “กะโหลก” จึงได้นำมาสร้างตราผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าของกลุ่มผลิตภัณฑ์
References
เมกุมิ คิคุจิ. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลติ ภัณฑ์แปรรูปสับปะรดนางแล: กรณศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดและสมุนไพรซางคำ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13, 1731-1740. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, http://conference.nu.ac.th/nrc13/proceedings.pdf
วนิดา แวฮาโละ และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาการผลิตข้าวเกรียบปลาสด กรณีศึกษา : กลุ่มทำข้าวเกรียบบ้านปาตาบาระ หมู่ที่ 1 ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2): 104-119.
ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้าน เขานาในตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2): 2643-2655.
สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก. (2558). ความเป็นมาของการจัดตั้ง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, http://www.taksez.com/th/page/establishment.html
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. (11th ed). Upper Sanddle River, New Jersey: Pearson Prentice-Hall
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต