แนวทางการบริหารบัญชีธุรกิจเกษตรอินทรีย์สู่ความสำเร็จในชุมชน : กรณีศึกษา ไร่สุขพ่วง

ผู้แต่ง

  • Theewara Sutanthawiboon คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

การบริหารบัญชี / เกษตรอินทรีย์ / ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดทำบัญชี เทคนิคการนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ประโยชน์ของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จสู่ความสำเร็จในชุมชน : กรณีศึกษา ไร่สุขพ่วง เครื่องมือวิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างและทฤษฎีฐานรากในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกับตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบสามเส้าด้วยวิธีรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์ และสืบค้นเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีแบบบัญชีครัวเรือนและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ เทคนิคการบัญชีบริหารที่มุ่งเน้นการบริหารรายได้และควบคุมต้นทุน เพื่อให้กระแสเงินสดหมุนเวียนสุทธิให้เป็นบวกเพิ่มมากขึ้น เทคนิคการบริหารรายได้ ได้แก่ การกำหนดราคาขาย การทำงบประมาณเงินรายได้ การวิเคราะห์กระแสเงินสดรับหมุนเวียน การวิเคราะห์กระแสเงินสดรับหมุนเวียนและการวิเคราะห์ผลตอบแทน จากการลงทุน เทคนิคการควบคุมต้นทุน ได้แก่ การลดต้นทุนจากการซื้อปัจจัยการผลิตจากภายนอก ลดปริมาณเงินลงทุนด้านการกู้ยืม ลดปริมาณเงินลงทุนจากการรวมตัวเป็นเครือข่าย และลดต้นทุนการบริหารจัดการพื้นที่แหล่งผลิต เทคนิคทางการบัญชีดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์สามารถลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง และมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการขยายตลาดในอนาคต จนได้รับการยอมรับให้ได้

References

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบรับ AEC. Journal of Business, Economics and Communications, 8(1), 39-50.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ปริ้นติ้ง.

ณัชชา ลูกรักษ์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และธีระ สินเดชารักษ์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการ ปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรม โครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. Thai J. Sci. Technol, 2(2),125-133.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). “บัญชีครัวเรือน”เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม”. Journal of Business,

Economics and Communications, 7(1), 20-28.

บุญชม ศรีสะอาดและสุริทอง ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย : บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. ว.สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 199-215.

สรธรรม เกตตะพันธุ์, กฤติเดช อนันต์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และลักษมี เมตปราณี. (2561). ผลของการใช้ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส) ในชุมชนเกษตรอินทรีย์. Thai J. Sci. Technol, 7(4), 333-354.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒน์. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสำเร็จของเกษตรอินทรีย์ใน ชุมชนเกษตรกรรายย่อยจังหวัดนครวรรค์. วารสารของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8(6), 596-608.

อรกช เก็จพิรุฬห์. (2556). การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการ ปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ : กรณีศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. แก่นเกษตร, 2556(41), 171-180.

อาทิตย์ สุจเสน, นิตยา ทัดเทียม และกมลนันท์ ชีวรัตนาโชติ. (2019). การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการ บันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Federation of Accounting Professions, 2, 1-23.

Yin, R. K. (2017). Case study research and applications: Design and methods. Sage publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24