การจัดการวัฒนธรรมองค์การเพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยสู่ความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • อโนชา โรจนพานิช
  • กวินพัฒน์ เลิศพงษ์มณี

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์การ, สมรรถนะของผู้ประกอบการ, ผู้ประกอบการสินค้ากลุ่ม OTOP

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการวัฒนธรรมองค์การและสมรรถนะของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทย และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของการจัดการวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน เพื่ออธิบายผลการวิจัยในครั้งนี้

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการวัฒนธรรมองค์การและสมรรถนะของผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทย อยู่ในระดับมาก และ 2) การจัดการวัฒนธรรมองค์การไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ จากการวิจัยเชิงคุณภาพยังพบว่า วัฒนธรรมองค์การไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของผู้ประกอบการสินค้ากลุ่ม OTOP ไทย เช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันชุมชนมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น ผู้คนมีลักษณะการอยู่อาศัยแบบต่างคนต่างอยู่ ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมหรือค่านิยมร่วมกันแบบในอดีตมีความเป็นไปได้ยากที่จะให้สมาชิกภายในชุมชนปฏิบัติตามร่วมกันได้

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2559, จาก http://www.otoptoday.com/otopcatalog/ProductList/index?q=&sector_id=&province_id=&cat2_id=10&cat1_id=&price_from=&price_to=.
ณรงค์ อนันต์เลิศสกุล และจิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการองค์การเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ที่ผลิตสินค้าโอทอป กรณีศึกษา ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารในพื้นที่ภาคใต้. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 128-135.
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2558). รายงานประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2559, จาก http://www.exim.go.th/doc/th/about_exim/EXIM_Annual_ Report_2015_Thai.pdf.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธิราวรรณ วิวัฒนากรวงค์. (2558). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อคุณภาพข้อมูลงบการเงินในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์ และคณะ. (2557). การศึกษาสมรรถนะของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน (OTOP) เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
มัณฑนา อ่อนน้อม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
รัฐบาลไทย. (2562). รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 และ 2563. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26147.
รุ่งอรุณ รังรองรัตน์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1), 69-81.
ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์, พสชนันท์ บุญช่วย และณัฐปภัสร์ เทียนจันทร์. (2558). แนวทางการพัฒนาตลาด OTOP สู่สากล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2559, จาก
http://korat.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/22/2017/06/Fulltext.pdf.
ศศิธร ยติรัตนกัญญา. (2558). วัฒนธรรมองค์การกับสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดสานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุมาลี ศรีสุภรวาณิชย์, ณรงค์ กุลนิเทศ, และสุดาวรรณ สมใจ. (2561). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยเพื่อการแข่งขันในอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 75-86.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะหัน. (ม.ป.ป.). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2562, จาก http://district.cdd.go.th/bangpahan/services/โครงการหนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์.
อภิชชญา บุญเจริญ. (2556). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. บริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอกมล ยศบัวพิศ. (2555). การพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cronbach, L. J. (1990) . Essentials of Psychology Testing. (5th ed). NY: Harper Collins Publishers Inc.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). NY: Pearson.
Likert, R. (1970). New Partterns of Management. New York : McGraw-Hill.
Nasuredin, J., Halipah, A. H., & Shamsudin, A. S. (2016). The Effect of Organizational Cultureon the Relationship between Entrepreneurial Competencies and SMEs Business Performance in Malaysia. Journal for Studies in Management and Planning, 2(11), 177-189.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed). NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05

How to Cite

โรจนพานิช อ. ., & เลิศพงษ์มณี ก. . (2021). การจัดการวัฒนธรรมองค์การเพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยสู่ความยั่งยืน . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 139–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/249301