การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวย ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาผึ้ง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สำราญ สุขแสวง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การออกกำลังกาย, ศิลปะมวยไทยเชิงมวย, สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 2. ศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทย เชิงมวยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ และ 3. ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาทางกายสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อการพัฒนารูปแบบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ 2) กลุ่มผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเขาผึ้ง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาค้นคว้าและการวิจัยและพัฒนา จนได้รูปแบบและโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีคุณภาพ และนำโปรแกรมไปทดลองใช้เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ ทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ประกอบด้วย 4 รายการ ทดสอบ ได้แก่ (1) รายการทดสอบด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (2) รายการทดสอบด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ (3) รายการทดสอบด้านความอ่อนตัว และ (4) ค่าดัชนีมวลกาย และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ นำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที แบบกลุ่มไม่เป็นอิสระ กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ มีโครงสร้าง ประกอบด้วย ช่วงกิจกรรม 3 ช่วง คือ 1) ช่วงการร่ายรำเพื่อคารวะบูชาครูอาจารย์-อบอุ่นร่างกาย 2) ช่วงการออกกำลังกายแสดงท่าศิลปะมวยไทยเชิงมวย-ออกกำลังกาย และ 3) ช่วงการร่ายรำเพื่อล่ำลาครูอาจารย์-คลายอุ่น 2. ผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวยที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความอ่อนตัวของผู้สูงอายุไม่พัฒนาขึ้น และค่าดัชนีมวลกาย มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งเพศชายและเพศหญิงอยู่ในระดับปกติ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดีมาก

References

จตุรงค์ เหมรา. (2561). หลักการและการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชวง ผาสุก. (2534) ผลการฝึกกายบริหารด้วยท่าแม่ไม้มวยไทย ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถทางกลไก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2558). การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยโบราณสำหรับเยาวชน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2552). ผลของการเต้นแอโรบิคแบบแรงกระแทกต่ำเสริมด้วยน้ำหนักที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิชา สังวรกาญจน์. (2551). ผลของการฝึกโปรแกรมออกกำลังกายด้วยท่ารำกระบี่ที่มีต่อสุขสมรรถนะและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรวัฒน์ แขกสินทร. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยกายร่ายรำไหว้ครูมวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายและการเผาผลาญพลังงานในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรเทพ ฑีฆานนท์. (2555). การอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้มวยไทยด้วยเกม. เชียงใหม่: วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาผึ้ง. (2562). ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาผึ้ง. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
วารุณี สิงหสุรศักดิ์. (2551). การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ท่ารำไทยมาตรฐานเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2556). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม (Dementia: prevention, assessment and care). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ. (2557). บัญญัติ 10 ประการในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). โครงการประเมินผลยุทธศาสตร์ 4 ปี สร้างกีฬาชาติ พ.ศ.2548-2551(ระยะครึ่งแผน). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
เสาวลักษณ์ สุนทราลักษณ์. (2551). การเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังการยแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกพร้อมกับการใช้แรงต้านที่มีต่อการเผาผลาญพลังงานและสุขสมรรถนะของหญิงภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริมา เขมะเพชร (2559, ออนไลน์) ออกกำลังกาย วารสารพยาบาลตำรวจ vol 8 No 2 กรกฎาคม-ธันวาคม สืบค้น เมื่อ 18 กันยายน จาก https://he01.tci- thaijo.org/ index.php/ policenurse/issue/view/6730.
อรวรรณ พิชิตไชยพิทักษ์ (2561. ออนไลน์) นัดกับพยาบาล สืบค้น เมื่อ 18 กันยายน จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article.
Garber, C. et al. (2011). Quantity and quality of exercise for developing and maintaining cardiorespiratory, musculoskeletal, and neuromotor fitness in apparently healthy adults: guidance for prescribing exercise. Retrieved June 20, 2019, from https://www.researchgate.net/publication /51239730_Quantity_and_Quality_ of_ Exercise_for_Developing_and_Maintaining_Cardiorespiratory_Musculoskeletal_and_Neuromotor_Fitness_in_Apparently_Healthy_Adults_Guidance_for_Prescribing_Exercise.
Latorre – Rojas, E. J. et al, (2019). Determination of functional fitness age in women aged 50 and older. Journal of Sport and Health Science, 8(3), 267-272.
Élvio R. G. et al. (2013) Functional fitness and physical activity of Portuguese community-residing older adults. Retrieved June 18, 2019, from https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22715032/.
Ho, Li-An et al. (2012). Factor structure and correlates of functional fitness of older adults in Taiwan. Retrieved June 18, 2019, from https://cyberleninka. org/article/n/509866.
Jeon, M. et al. (2017). Comparison of walking, Muscle strength, Balance, and fear of falling between repeated fall group, One-time fall group, and nonfall group of the elderly receiving home care service. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci) 11(4), 290-296.
Rikli, R. E. (2005). Movement and mobility influence on successful aging: addressing the issue of low physical activity. Quest-Illinois-National Association for Physical Education in Higher Education, 57(1), 46-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05

How to Cite

สุขแสวง ส. . (2021). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยเชิงมวย ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเขาผึ้ง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 122–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/249299