กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูฝึกและผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ผู้แต่ง

  • ปุญชรัศมิ์ เลี่ยมพรมราช
  • ภัทรพล มหาขันธ์
  • พีรเทพ รุ่งคุณากร
  • ประภาพร ชุลีลัง

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, ครูฝึกฝีมือแรงงาน, ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะปัจจุบันครูฝึกและการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูฝึกและผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ผู้บริหารสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายและวางแผน และครูฝึก รวมทั้งสิ้น 75 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.8 - 1.0 และประเด็นการสนทนากลุ่ม

ผลการศึกษาพบว่า 1) ครูฝึกขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะภาษาต่างประเทศ ความรู้ด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม ขาดแผนการพัฒนาครูฝึกรายบุคคล ส่วนการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน พบว่า หลักสูตรเน้นเฉพาะเนื้อหาการพัฒนาทักษะด้านช่างฝีมือ ซึ่งเป็นทักษะที่ใช้ในการทำงาน ส่วนทักษะด้านสังคม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับคนในยุคศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ความรู้ด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม พบว่า ไม่มีเนื้อหาการพัฒนาที่ชัดเจน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงานส่วนใหญ่ฐานะยากจนอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารการพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างทั่วถึง 2) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูฝึก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (1) การพัฒนาครูฝึกให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรม (2) การบูรณาการเครือข่ายการพัฒนาครูฝึกทั้งภาครัฐและเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) การพัฒนาครูฝึกเพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 และ (4) การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูฝึกมีความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพ และกลยุทธ์การพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ (1) การพัฒนาระบบและรูปแบบการฝึกอบรมฝีมือแรงงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (2) การประสานและบูรณาการภาคีเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีประสิทธิภาพ (3) การพัฒนากำลังแรงงานให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และ (4) การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

References

ภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของแรงงานให้ตอบสนองต่อนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563 จากเว็บไซต์ http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8478e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงษ์
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 7 (1) , 6 -7 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จากเว็บไซต์ http://www.ipsresearchunit.psu.ac.th/?page=publication.
อลิสา มะเซ็ง.(2557). แนวทางพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2), 8 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จากเว็บไซต์ http://journal.pnu.ac.th/ojs/index.php/huso/article/view/307
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู, วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (2), 1388 - 1389 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จากเว็บไซต์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/67581/55153
Gulmira M. Abildinova, et al. (2016). Developing a Mobile Application “Education Process Remote Management System” on the Android Operating System. International Journal of Environmental Science Education, 11 (12), 5143 - 5144.
Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1115632.pdf
Julia Geisel Davis. (2018). A Study of K-12 teachers’perceptions of self-efficacy inRelation to instruction of 21st century skills. Doctoral dissertation, United
States – Pennsylvania, Neumann University. Retrieved from https://pqdtopen.proquest.com/doc/2050018024.html?FMT=AI

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05