ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงาน ภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กุลยา อนุโลก
  • กอบกุล วิศิษฎ์สรศักดิ์
  • วรรณา โชคบรรดาลสุข
  • ชลทิตย์ เอี่ยมสำอางค์

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ, แรงงานนอกระบบวัยทำงาน, ภาคเกษตรกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ในการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงานภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ 2) สร้างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงานภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ 3) ทดลองและประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่มีอายุ 40 - 59 ปี จำนวน 384 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในการสร้างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ใช้การวิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบันด้วยเทคนิค SWOT Analysis ร่วมกับการวิจัยด้วยเทคนิคแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  และนำยุทธศาสตร์ไปทดลองใช้ด้วยการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการวางแผนและบริหารการเงินสำหรับเกษตรกรวัยทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ กับเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินผลการจัดโครงการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) สภาพการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงานภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยรวมมีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับน้อย (  = 2.28, S.D. = 0.51) เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการออมและหนี้สิน  ด้านรายจ่าย  ด้านรายได้ และด้านการวางแผนและบริหารการเงิน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงานภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่เกษตรกรต้องอุปการะเลี้ยงดู รายได้ และจำนวนเงินออม  ซึ่งจะมีอิทธิพลในทางบวก ส่วนรายจ่าย จะมีอิทธิพลในทางลบ และ 2) ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบวัยทำงานภาคเกษตรกรรมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) สร้างเสริม และเพิ่มความตระหนักรู้ ให้เกิดการระเบิดจากภายในของเกษตรกรวัยทำงานในการเตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ (2) สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมให้เกษตรกรวัยทำงานมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (3) เสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพ ด้านการออมให้กับเกษตรกรวัยทำงาน (4) เสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพ ให้เกษตรกรวัยทำงาน มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการวางแผนและบริหารจัดการเงิน โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ ในแต่ละข้อมีค่ามัธยฐานมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 ทุกข้อ การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ อยู่ในระดับมากที่สุด จึงถือว่ายุทธศาสตร์นี้มีความเหมาะสมสอดคล้อง มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ และ 3) ผลการนำยุทธศาสตร์ไปทดลองใช้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.00 มีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดโครงการ และเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.50 มีความคิดเห็นว่าการวางแผนและการบริหารการเงินนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุได้

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2563). ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563, จาก http: //www.moac.go.th/ Strategic-preview-402791791801.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2556 – 2566. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.bps.m-society.go.th/uploads/content /download/539681f52ccac.pdf.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี.
ธีระ สินเดชารักษ์ และพรทิพย์ เนติภารัตนกุล. (2554). ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2559). แก่..ก็ดีเหมือนกันนะ. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด.
ปิยะพร มุ่งวัฒนา. (2559). การเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). 2559. สถาบันผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซิ่ง.
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วรรณรา ชื่นวัฒนา. (2557). การเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(1), 198 -201.
สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุ และการขยายอายุเกษียณ. รายงานการสังเคราะห์ข้อมูลจากเวทีวิชาการ กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฏิรูปที่ 30 : การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุชรินทร์ พีรยานันท์ และไพโรจน์ ภัทรานรากุล. (2559). การศึกษานโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการดูแลสวัสดิการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุไทย. วาสารวิจัย มสด. สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. 12(3), 19-37.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การสำรวจแรงงานนอกระบบพ.ศ. 2562. กลุ่มสถิติแรงงาน. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.
อนพัทย์ หนองคู และ พรวรรณ นันทแพศย์. (2559). การวิเคราะห์รูปแบบการออมสำหรับวัยสูงอายุในประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 5(1), 145-153.
Christoph, Metzger. (2018). Intra-household allocation of non-mandatory retirement savings. The Journal of the Economics of Ageing, 12, 77-87.
Cronbach, L. J. (1960). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.
United Nations. (2017). Word Population Prospects: The 2017 Revision, Key Finding and Advance Table. New York: Department of Economic and Social Affairs/Population Divison.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05