การสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10
คำสำคัญ:
เครือข่ายความร่วมมือ, สะเต็มศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 2) เสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยทำการศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนศูนย์สะเต็มศึกษา ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 179 คน ในการตอบแบบสอบถาม และส่วนหนึ่งเป็นทั้งผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย จำนวน 47 คน รวมทั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 7 คน โดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น ชุดที่ 1 เท่ากับ 0.89 ชุดที่ 2 เท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 10 ประกอบด้วย (1) ด้านความพร้อมของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ (2) ด้านกิจกรรมของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และ (3) ด้านการบริหารจัดการของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มีสภาพการบริหารระดับมากทุกด้าน 2) รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) ด้านกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มี 6 ขั้นตอน (2) ด้านองค์ประกอบของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มี 4 ขั้นตอน และ (3) ด้านขอบข่ายภารกิจการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มี 7 ขั้นตอน
References
_______. (2560). จุดเน้นเชิงนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
เขมวดี พงศานนท์. (2560). สะเต็มศึกษา: นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2561, จาก http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2018/03/STEM-ED-PPT.
คณะอนุกรรมการการด้านการจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2560). การดำเนินงานเพื่อยกระดับขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ.
นารี ห่อทอง. (2553). สภาพการดำเนินการและปัญหาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพลับพลาชัย 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(3), 21-22.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศศิรัศม์ วีระไวทยะ. (2554). การนำเสนอยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาพัฒนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สรุปผลการวิจัยPISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558). รายงานข้อเสนอเชิงนโยบายสะเต็มศึกษา (STEM Education) นโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาเยาวชนและกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชนการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ และคณะ. (2552). รายงานวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2561, http://www.sesa10.go.th/sesa10/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=34.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
_______. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ไสว อุทุม. (2557). การดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Norwich and Evans. (2007). Cluster : Inter-school Collaboration in Meeting Special Educational Need in Ordinary School. Retrieved Jan 26, 2018. Form http://ebscohot.com/ehoat/detail?vid=13&hid=3b84db-45f9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต