ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา โรงเรียนเสรีรักษ์การบริบาล กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิชญา เริงฤทธิ์
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การตัดสินใจ, โรงเรียนเสรีรักษ์การบริบาล กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาของนักศึกษา 2) ระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาของนักศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษากับการตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา โดยการศึกษาครั้งนี้ศึกษานักศึกษาโรงเรียนเสรีรักษ์การบริบาล กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรการดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุในโรงเรียนเสรีรักษ์การบริบาล กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562  จำนวน 125 คน ได้มาจากการคำนวณโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยคุณภาพความตรงด้านเนื้อหา มีค่าเท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ

ผลการวิจัย พบว่า 1)  ปัจจัยการตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบุคคล ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านหลักสูตรและวิชาการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสถานศึกษา และด้านความคาดหวังในอนาคต 2) การตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการประเมินทางเลือก  ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการรับรู้ปัญหาหรือความจำเป็น ด้านพฤติกรรม และด้านการเลือก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษากับการตัดสินใจในการเข้าศึกษาของนักศึกษา พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (rxy = .754) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ในการเข้าศึกษาของนักศึกษา ได้แก่ ด้านสังคม ด้านครอบครัว  ด้านสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและวิชาการ  ด้านความคาดหวังในอนาคต  ด้านบุคคล  และด้านการประชาสัมพันธ์ ค่าประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .878 คิดเป็นร้อยละ 87.80  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า

           สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ ได้ดังนี้

1609816843140.jpg

          สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

1609816853780.jpg

References

กัญกมญ เถื่อนเหมือน. (2551). ปัจจัยจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 8(1), 5–12.
กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร .วารสาร Veridian E-Journal. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2557) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อสาขาวิชาชีพครูของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(52), 139–147.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ชนินทร์ เลิศประภาภรณ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางการบัญชี. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา). งานบริหารงานทั่วไป สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาเอกการตลาด คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภายะวริษฐ์ ภัทรสุนทรภักดี. (2559). การตัดสินใจเลือกเรียนในโรงเรียนบริบาล ของนักเรียนประกาศนียบัตร ตามหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลในประเทศไทย. รายงานสืบเนื่องการประชุม สัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 646–655.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสาขาวิชา การบริหารการศึกษาศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 10(4), 120–129.
ลิต้า ลิมาน และคณะ. (2556). ปัจจัยการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 24(2), 104-118.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2556). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. บริษัท เอสเอส พลัส มีเดีย จำกัด: นนทบุรี บรรณาธิการ.
เสรี สิงห์โงน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal Received, June 21,2018; Reviesed: August 11,2018; Accepted: August 16,2018 http://doi.org/10014456/jmu.2018.20
อเนก ณะชัยวงค์. (2553). การศึกษาความคิดเห็นต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาภาคปกติ ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Alderfer, C. P. (1969). An empirical test of a new theory of human needs. Organizational behavior and human performance, 4(2), 142-175.
Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5thed). New York: Harper Collins.
Cubillo, J. M., Sanchez, J., and Cervino, J. (2006). International Student’s Decision-Making Process. International Journal of Educational Management. 20(2), 101-115.
Hilgard, Erneest R. (1981). Introduction to Psychology. New York: Harcourt, Brace and World, Inc.
Hinkle, D.E, William, W. & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2001). Principles of marketing. (9th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mcclelland, D. C. (1961). The achieving society. New York: Van no strand.
Maslow, Abraham H. (1970). Motivation (Psychology): Self-actualization. (2nd ed). Harper & Row, New York: 35-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-05