เจตคติต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อรพิณ พัฒนผล มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
  • ชัยยุธ มณีรัตน์
  • จารุวรรณ นครจารุพงศ์
  • นภาเดช บุญเชิดชู

คำสำคัญ:

เจตคติ, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ, นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติจำแนกตามเพศ และ3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 120 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) นักศึกษา อาจารย์ กรรมการบริหารหลักสูตร ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิชาการด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเจตคติและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีเจตคติทางบวกต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับดี 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติพบว่า ควรสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติให้กับนักศึกษา ควรใช้ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริง ควรมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนการปฏิบัติร่วมกัน ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรมีระบบกำกับติดตาม ประเมินผลและให้คำปรึกษา และควรส่งเสริมให้เกิดการถอดบทเรียนร่วมกัน

References

กมลพร อ่วมเพ็ง. (2560). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นววิช นวชีวินมัย และคณะ. (2560). การศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(1), 53-66.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา (เล่มที่ 116). ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปฏิรูปการเรียนรู้: ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2561). ขอบฟ้าใหม่แห่งการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์อนาคต. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำเริง บุญเรืองรัตน์ . (2558). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 49, 57-59.

Azizinezhad, M., Hashemi, M. & Darvishi, S. (2013). Relationship between EFL teachers’ attitudes, teaching techniques and classroom (large and small). Procedia Social and Behavioral Sciences, 93, 134-137.

Belli, S. A. (2018). A study on ELT students’ cultural awareness and attitudes towards incorporation of target culture into language instruction. Journal of Language and Linguistic Studies, 14(1), 102-124.

Geeraerts, K., Vanhoof, J. & Van den Bossche, P. (2016). Teachers’ perceptions of intergenerational knowledge flows. Teaching and teacher education, 56, 150-161.

Kaman, S. & Ertem, I. S. (2018). The effect of digital texts on primary students’comprehension, fluency, and attitude. Eurasian Journal of Educational Research, 76, 147-164.

Marquardt, M. J. (1999. Action learning in action: Transforming problems and people for world-class organizational learning. Palo Alto: Dares–Black Publishing

Metin, M., Acisli, S. & Kolomuc, A. (2012). Attitude of elementary prospective teachers towards science teaching. Procedia Social and Behavioral Sciences, 46, 2004-2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19

How to Cite

พัฒนผล อ., แสงเลิศอุทัย จ., มณีรัตน์ ช. ., นครจารุพงศ์ จ. ., & บุญเชิดชู น. . (2021). เจตคติต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 144–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/249238