การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อธิป จันทร์สุริย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พงศ์กฤต นันทนากรณ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงศิลปะ, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2. เสนอแนะการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ภาครัฐ เจ้าของผลงานศิลปะ / ผู้ประกอบการ และภาคชุมชน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า 1. ด้านทุนทางวัฒนธรรม คือ ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทางด้านผลงานศิลปะ ด้านทักษะและความรู้  การถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะ โดยการให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาทำกิจกรรม ด้านการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงศิลปะนั้นทำให้นักท่องเที่ยวและชุมชนนั้นเกิดการเรียนรู้ในวิถีชุมชน ด้านการมีส่วนร่วม เจ้าของผลงานศิลปะ/ผู้ประกอบการ และชุมชน ต้องมีความพร้อมสามารถอธิบาย สาธิตในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ด้านความคิดสร้างสรรค์  การเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองในการทำกิจกรรม  ด้านประสบการณ์ร่วมของนักท่องเที่ยวกับชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถได้รับประสบการณ์โดยผ่านการลงมือทำจริง และด้านกิจกรรมท่องเที่ยว เจ้าของผลงานศิลปะ / ผู้ประกอบการ และชุมชนต้องออกแบบกิจกรรมสอดคล้องไปตามวิถีชีวิตของชุมชน และ 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ด้านการบริการการท่องเที่ยว และด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2549). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กันตภณ แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2558). การจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 9(2), 79-103.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560) แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดราชบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2561-2564. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.ratchaburi.go.th/plan.

ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2558). การศึกษาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สัมผัสภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมมุสลิม ชุมชนเมืองเทศบาลนครพระนคร ศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ช่อพฤกษ์ ผิวกู่. (2561). แนวทางการพัฒนาทุนวัฒนธรรมนวัตกรรมสู่ Thailand 4.0. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560, 134-142.

ฐิตินันท์ เตชไกรชนะ. (2554). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของหอศิลป์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนากร ทั่งเรือง ทรงพจน์ นันทนากรณ์ และอธิป จันทร์สุริย์. (2562). แนวทางการจัดการระบบการท่องเที่ยวชุมชนปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ไอซีทีศิลปากรวิชาการ ประจำปี 2019.

พระวินัยธร ศราวุธ ฐานิสฺสโร. (2561). ขัวศิลปะ: กระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวา ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. รายงานการประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557.

ศลิษา ธีรานนท์ และประกาศิต โสภณจรัสกุล. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือก-ทางรอดของการท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(2), 206-215.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) : คู่มือและแนวทางปฏิบัติการ. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2554). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก www.dasta.or.th.

อลงกต เพชรศรีสุก. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 13(2).

อธิป จันทร์สุริย์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Raymond, C. (2007). Creative Tourism New Zealand; The practical challenges of developing creative tourism. In Richards G. and Wilson,J (eds) Tourism: Creativity and Development. London: Routledge, 145-157.

Richards, G. (2008). Creative Tourism and Local Development. Paper presented at The Santa Fe International Conference on Creative Tourism. 28th September 2008.

Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. New Mexico. U.S.A.

Suttipisan, S. (2014). Creative Community-based Tourism: An Integrated Tourism Management Approach in Thailand. Paper Presented at the Toward ASEAN Development Administration, National Institute Development Administration, Bangkok.

UNESCO. (2006). Toward Sustainable Strategies for creative tourism. Discussion Report of the Planning Meeting for 2008. International Conference on Creative Tourism. Santa Fe, New Mexico, U.S.A.

Wurzburger, R., Aagesen, T., Pattakos, A., and Pratt, S. (2009). Creative Tourism: A

Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences For Travelers Worldwide. Paper Presented at the 2008 Santa Fe and UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe, New Mexico, U.S.A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-19

How to Cite

จันทร์สุริย์ อ., & นันทนากรณ์ พ. . (2021). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปะบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 109–124. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248898