การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • จริยะ วิโรจน์

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางวิชาชีพ, นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาเหล่านี้มีสมรรถนะทางวิชาชีพแตกต่างกัน และ (3) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาเหล่านี้ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5,370 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับเดียวกัน 680 คน      ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่ง ที่ได้รับคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม 601 ชุด ที่นักศึกษาตอบครบถ้วนสมบูรณ์ สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ประกอบด้วย ที-เทสต์ ความแปรปรวน และความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยและการทดสอบสมมติฐาน พบว่า

  1. สมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษา : โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง ส่วนรายด้านก็อยู่ในระดับสูงทุกด้านซึ่งเรียงลำดับจากด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสู่ด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำ คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
  2. ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษามีสมรรถนะทางวิชาชีพแตกต่างกัน : ปัจจัยลักษณะทางประชากรที่ทำให้สมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาแตกต่างกันแตกต่างคือภูมิลำเนา ส่วนปัจจัยลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพครูที่ทำให้แตกต่างคือสายการศึกษาที่สำเร็จปริญญา ระดับ/ประเภทการศึกษาที่ปฏิบัติการสอน ประสบการณ์ในวิชาชีพครู และภาค/พื้นที่ที่ประกอบวิชาชีพครู
  3. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษา : ปัจจัยลักษณะทางประชากรทุกปัจจัยไม่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษา ส่วนปัจจัยลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพครู ที่สัมพันธ์กับสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษา คือ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในวิชาชีพครู และภาค/พื้นที่ที่ประกอบวิชาชีพครู

References

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง ลงวันที่ 20 มีนาคม 2562.
จริยะ วิโรจน์ และจรินทร์ งามแม้น. (2561). การศึกษาการรับรู้ความรู้และสมรรถนะตนเองของนักศึกษาประกาศ-นียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
จำนง แจ่มจันทรวงศ์ และคณะ. (2560). “ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะครูผู้สอนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยเชียงราย” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(1) : 269-280.
จุฑารัตน์ คชรัตน์ และคณะ. (2556). สมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ.ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยเอกสาร เรื่อง สภาวะขาดแคลนครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. www.edu.chula.ac.th/reach/new%20research1/2549.4.th สืบค้นวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2562
โชติ แย้มแสง. (2558). สาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพครูของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ธิดาพร ศรีจันทร์ และสุธันญา พัฒนสิทธิ์อุบล. (2559). ทำไมในต่างประเทศใคร ๆ ก็อยากเป็นครู. http://thematter.co>Pule สืบค้นวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ประยูร เชาวนีนาท. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการชี้แนะสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ชัยภูมิ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
มานูนณย์ สุตีคา และศรายุทธ เงาคำ. (2559). การประเมินความรู้ของนักศึกษาตามสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ภู่วิทยนันท์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Strategig Human Resource Development. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Casio. (1995). Managing Human Resource. 4th ed. New York.: McGraw-Hill.
Devies, B. and Ellison, L. (1997). School Leadership for the 21st Century. London: Rutledge.
McClelland, D. C. (1973). A Competency Model for Human Resource Management Specialist to Be Used in The Delivery of The Human Resource Management Cycle. Boston : Mcber.
Wexley, K. and Latham, P. (1981). Developing and Training Human Resource in Organization. Glenview, Illinois: Scott, Foreman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24