ผลกระทบสถานการณ์โควิดต่อครัวเรือนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • วรวิทย์ คำตัน
  • จันทรวิมล คีรีกังวาล สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด
  • อังคณา ตาเสนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

รายได้, ค่าใช้จ่าย, ครัวเรือน, ผลกระทบ, สถานการณ์โควิด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 ต่อครัวเรือนในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 400 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีสมาชิกในครอบครัว  3-4 คน และครัวเรือนมีรายได้ก่อนสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ 30,721.59 บาท และหลังสถานการณ์โควิด-19 รายได้ลดลงเหลือ 28,593.09 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนก่อนสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ 27,991.15 บาท และหลังสถานการณ์โควิด-19 ลดลงเหลือเท่ากับ 27,271.92 บาท ส่วนหนี้สินของครัวเรือนโดยเฉลี่ยของครัวเรือนก่อนสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ 1,185.00 บาท และหลังสถานการณ์โควิด-19 มีหนี้สินลดลงเท่ากับ 1,023.25 บาท การออมเงินของครัวเรือนก่อนสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ 2,538.25 บาท และหลังสถานการณ์โควิด-19 ออมเงินลดลงเหลือ 185.99 บาท สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 ต่อครัวเรือนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.43) แบ่งเป็นผลกระทบด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.39) และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.47) สำหรับแนวทางในการปรับตัวช่วงสถานการณ์โควิด 19 และความช่วยเหลือที่ต้องการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.50)

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). อัพเดทสถานการณ์ "โควิด-19" จาก โคโรนาไวรัส. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904403.

ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563, จาก https://core.ac.uk/download/pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). กิจการเสี่ยงและมาตรการดูแลภายใต้ผลกระทบของ โควิด-19 สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาตม 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai.

บีบีซี นาวิเกชัน. (2563). โควิด-19 : ผ่อนคลายมาตรการระยะ 5 ผับ-บาร์-คาราโอเกะ-อาบอบนวด เปิดได้แต่ต้องปิดเที่ยงคืน. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-53162018.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2556).กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร ตามตาราง Taro Yamane สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2563, จาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui.

ภัทรพร กิจชัยนุกล. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563, จาก http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2556

ยรรยง ไทยเจริญ และคณะ. (2563). สถานการณ์เศรษฐกิจภาคครัวเรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/651317.

ลลิตา บุดดา. (2559). หนี้ภาคครัวเรือนกับวัฏจักรธุรกิจไทย.สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภาภรณ์. (2563). ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.pier.or.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถิติ. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014.

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). COVID-19 กับผลกระทบ โอกาสในวิกฤต และ โลกหลังโควิด. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563, จาก http://ost.thaiembdc.org.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก. (2561).จำนวนประชากรภายในจังหวัดตาก พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2563, จาก http://www.takpao.go.th/cliniccenter.

อนุวัต สงสม. (2552). เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานี ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24