สวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด
คำสำคัญ:
สวัสดิการ, มาตรฐาน, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 400 คน และกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 48 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลที่ได้นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วนำมาสรุปข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการสวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านความปลอดภัยในชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพอนามัยและด้านการศึกษา ตามลำดับ 2) แนวทางสวัสดิการมาตรฐานสำหรับผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย เป็นการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ด้านการศึกษา เน้นความรู้ด้านสุขภาพ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ด้านนันทนาการ โดยการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและศูนย์ชุมชนเพื่อออกกำลังกาย ส่วนด้านที่อยู่อาศัย ให้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา และด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อำนวยความสะดวกความปลอดภัยตามสถานที่ต่าง ๆ
References
กรมการปกครอง. (2561). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561. จาก https://www.egov.go.th.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
เกษม แก่นบุญ. (2552). แนวทางในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิรัชยา เจียวก๊ก, ยุวัลดา ชูรักษ์, ฉัตรจงกล ตุลยนิษกะ และสันติชัย แย้มไหม. (2558). คนโลกมืด: การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จรีวัฒนา กล้าหาญ. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
ชาญยุทธ หาญชนะ และคณะ. (2559). การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
ดวงใจ คำคง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะดา ภักดีอำนาจ และพรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2554). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารการจัดการวิทยาศาสตร์. 31(2), 121-151.
ภัทรกร รุ่งจิรเดชากุล. (2559). ความต้องการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทรรศน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 18(1), 62-68.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.
ไม้ป่า ธิรานันท์. (2552). การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุวณี เกษมสินธ์ และคณะ. (2553). สภาพและปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7(33), 103-113.
ระพีพรรณ คำหอม. (2554). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
เรณู โชติดิลก. (2554). นักบริหารงานประสงเคราะห์ เล่มที่ 1. นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.
ลัดดา บุญเกิด. (2557). ความต้องการด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วันชัย ชูประดิษฐ์. (2554). การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมสมัย พิลาแดง. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 3(1), 133-148.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 1(1), 73-82.
อัจฉรา วงนารี และรัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2559). ความต้องการสนับสนุนด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. ฉบับพิเศษก้าวสู่ทศวรรษที่ 2, 93-103.
อุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล. (2553). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเขาอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต