การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี จุ้ยทอง

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ร่วมกัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ ระหว่าง 0.30–0.65 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25–0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ซึ่งเป็นแบบประเมินมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38–0.69 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ (t – test for Dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี อิ่มเนย. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์นันทนาการ เรื่อง การหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุมล พงศาวกุล. (2552). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแบบศูนย์การเรียนในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อาคม คมวินัย. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา. นครศรีธรรมราช: เผยแพร่ผลงาน.
Anuradha, Gokhale. A. (1995). Collaborative Learning Enhances Critical Thinking. Journal of Technology Education. Retrieved January 25, 2001, Available from : http://borg.lib.vt.edu/ejournals/JTE/jte-v7n1/gokhale.jte-v7n1.html (Fall).
Carroll, J. B. (1996). Mathematical Abilities: Some Results from Factor Analysis. In R. J. Sternberg, T. Ben-Zeev (Eds.), The Nature of Mathematical Thinking. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Fernandez, C. & Yoshida M. (2004). Lesson Study: A Japanese Approach to Improving Mathematics Teaching and Learning. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24