การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สถาบันการพลศึกษา

Main Article Content

ภูมิภัทร พันธ์ทองหลาง
พิทักษ์ นิลนพคุณ
สุวรรณา จุ้ยทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างการให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนภาษาไทยในสถาบันการพลศึกษา และมีประสบการณ์การสอนในระดับอุดมศึกษา จำนวน 10 ท่าน และอาจารย์ผู้ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย เป็นกระบวนการร่างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา Content analysis


ผลการวิจัยพบว่า


1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนกับสำรวจความสามารถในการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในเบื้องต้น พบว่า ความสามารถในการใช้ภาษาไทยควรมีการพัฒนาและเสริมสร้างโดยมีรายละเอียด ได้แก่ 1) โครงสร้างของภาษาไทย 2) คำและการใช้คำ 3) ประโยคและการเชื่อมประโยค 4) การสะกดคำไทย 5) การอ่านคำไทย 6) ระดับของภาษาและการสื่อสาร 7) การอ่านจับใจความสำคัญ 8) การอ่านวิเคราะห์และวินิจสาร 9) การอ่านสรุปความ 10) การเขียนย่อหน้า และ11) การเขียนสรุปความ โดยนักศึกษายังขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู


2.ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นกระบวนการศึกษาความจำเป็นต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย โดยการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการใช้ภาษาไทย องค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบฝึกอบรม 3) โครงสร้างรูปแบบฝึกอบรม 4) เวลาการฝึกอบรม 5) เนื้อหาสาระการฝึกอบรม 6) กิจกรรมการฝึกอบรม 7) สื่อการฝึกอบรม และ 8) การติดตาม การวัดและประเมินผล

Article Details

How to Cite
พันธ์ทองหลาง ภ., นิลนพคุณ พ. ., & จุ้ยทอง ส. . (2018). การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สถาบันการพลศึกษา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 117–129. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248514
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และจันทิมา เอียมานนท์, บรรณาธิการ. (2549). พลวัตของภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
คณะกรรมการฝ่ายจัดการสัมมนาทางวิชาการด้านภาษาและวรรณกรรม. (2551). สรุปผลการศึกษา เรื่องปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : 200 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท.
คณาจารย์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2552). ภาษากับการสื่อสาร (Language and Communication). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ญาดา อรัมภีร. (2558). “ภาษาไทยวันนี้” ยารัก (ภา) ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2553). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด.
พันธณีย์ วิหกโต. (2542). การเรียนการสอนภาษาไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ภูมิภัทร พันธ์ทองหลาง. (2558). รายงานวิจัย เรื่องคุณลักษณะความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ปทุมธานี : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ.
เยาวลักษณ์ เกิดสมบูรณ์ ; จินตนา ติยะรังษีนุกูล ; จันทร์นี ฤทธบวร ; ปรีดาภรณ์ ดวงใจดี. (2559, 15 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ภูมิภัทร พันธ์ทองหลาง ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2558). “วิกฤติสมัย ภาษาไทยวิบัติ” ยารัก (ภา) ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ณ เพชรสำนักพิมพ์.
สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2561). การสอนภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามคุณลักษณะอันที่ประสงค์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (มกราคม-เมษายน) : 117-122.
สงัด อุทรานันท์. (2537). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : วงเดือนการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดุลย์ ไทรเล็กทิม. (2550). รายงานการวิจัย ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. New York: Newbury House.
Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York : Harcourt, Brace and World.