ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • นัฎฐภรณ์ ศรีสงคราม
  • วินัย ชุ่มชื่น
  • อารมณ์ สนานภู่

คำสำคัญ:

คุณภาพของครู, ปัจจัยที่ส่งผล, ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของครู และ 2) ศึกษาอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 1,120 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ด้านผู้ปกครองและชุมชนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และด้านตัวครูมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 ตามลำดับ 2) อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของคุณภาพของครูได้ร้อยละ 90 ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชนมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพของครู ส่วนปัจจัยด้านการบริหารโรงเรียนและด้านตัวครูมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพครู ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านตัวครูส่งผลต่อคุณภาพของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 มากที่สุด

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
บุษยมาศ แสงเงิน. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางการสอนของครูระดับประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ: การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้ทักษะ ICT. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2556, จาก http://enn.co.th/5942.
วรพล สังขะวิลัย. (2550). การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนในอำเภอบางปะกงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. (2559). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559, จาก http://www.rb-2.net/main/.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24

How to Cite

ศรีสงคราม น. ., ชุ่มชื่น ว. ., & สนานภู่ อ. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 81–93. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248509