การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ภาคทฤษฎี สำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ของวิทยาลัยเทคนิค สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้แต่ง

  • สมพงษ์ วงษ์วิไล
  • อารมย์ สนานภู่
  • เกศินี โสขุมา

คำสำคัญ:

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556, มาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม, นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ภาคทฤษฎี สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2556 และ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ และคู่มือการใช้แบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ภาคทฤษฎี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขางานสถาปัตยกรรม จำนวน 631 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยให้สถานศึกษาแต่ละภาคเป็นหน่วยสุ่ม แบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ภาคทฤษฎี ที่สร้างขึ้นในครั้งนี้เป็นแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น  และเกณฑ์ปกติ

ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ภาคทฤษฎี สำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ของวิทยาลัยเทคนิค  สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการมี จำนวน 60 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ ตั้งแต่  0.60-1.00 มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.48–0.78 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20–0.69 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 และ 2) เกณฑ์ปกติ  มีคะแนนดิบ ตั้งแต่ 11–60 คะแนน  มีคะแนน ที–ปกติ  ตั้งแต่  T20–T79  รวมทั้งได้คู่มือการใช้แบบทดสอบและเกณฑ์ปกติสำหรับใช้ในการแปลผลคะแนน

References

กฤษณา คิดดี. (2550). การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ด้านการอ่าน กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2553). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
------------. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
------------. (2548). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Garrett, H. E. (1956). Statistics in psychological and education. Bombay: Vakils, Feffer and Simon PVT.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24