การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี ธนวิริยพันธุ์
  • วิชาญ พันธุ์ประเสริฐ
  • สมพงศ์ มาเบ้า

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, การจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODELวิชาชีววิทยาและศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการจัดการ เรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL วิชาชีววิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จำนวน 30 คน และโรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี จำนวน 30 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กาญจนบุรี สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาชีววิทยา มีค่า 93.16/82.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL วิชาชีววิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.44)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์กรเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
------------. (2554). คู่มือครู สสวท. รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว
------------. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
------------. (2541). บทบาทของครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤติยา จงรักษ์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการศึกษาศาสตร์ มสธ. 9(2), 96-106.
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน (2560). บทความปริทัศน์ การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารบริหารการศึกษา มศว 14(26 มกราคม-มิถุนายน), 149-151.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
ฆนัท ธาตุทอง. (2555). สบายตาโมเดลรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา. นครปฐม:เพชรเกษมการพิมพ์.
จุฑามาศ บุญทวี. (2560). ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1“นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0 928-935. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1208-1223.
ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, และยศวีร์ สานฟ้า. (2559). การศึกษาความสามารถในการคิดและการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการ เรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 36(2), 188–204.
นันทวัน นัทวนิช. (2557). การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท. (42มกราคม - กุมภาพันธ์), 40 -43.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคปริ้นติ้ง.
พชิญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรรณี ภิบาลวงษ์และคณะ. (2556). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาเรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และการสอนแบบปกติ. วารสารการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(1), 21-32.
พิลึก นิลศิริ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พีระพงษ์ สิทธิอมร. (2560). คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตจริงหรือ? ในแผนการศึกษา 2560-2579. เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา 24(1 ประจำปีการศึกษา2560), 31.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนตรี วงษ์สะพาน (2556 ). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13(2), 125-139.
ราตรี นันทสุคนธ์. (2555). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.
ล้วน สายยศ. (2547). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
วิภาณีย์ จิรธรภักดี. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2556). ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย,สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2559, จาก http;//www.tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/06/wb103.pdf.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ผลประเมินPIZA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สุชาดา พ่อไชยราช และสุภาพร พรไตร.(2558). การยกระดับความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 46-56.
สุตานันท์ ธนาธันย์นิ. (2557). ข้อคิดของเซอร์เคน โรบินสันกับการปฏิรูปการศึกษา, สืบค้นเมื่อ 15สิงหาคม 2559, จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/category/8.
สุวิทย์ มูลคำ. (2549). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต8. (2560). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ2560. 23-27. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
------------. (2558). รายงานผลการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(constructionism)ของสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: บริษัท21เซ็นจูรี่ จำกัด
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มศว ปีที่ 10 ฉบับที่ 2กรกฎาคม-ธันวาคม 2560. 78-88.
อัญชลี ชยานุวัตร. (2554). แนวคิดและกระบวนการเรียนรู้. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ดีชัย จำกัด.
เอื้อมพร หลินเจริญและคณะ. (2552). เรื่องปจจัยเชิงสาเหตุที่ทําใหคะแนนการทดสอบ O-NETของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 ต่ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแหงชาติ (องคการมหาชน).
Fernando Naiditch. (2017). Developing Critical Thinking. United States of America.
Louis Cohen, Lawrence Manion and Keith Morrison. (2003). Research Methods in Education. New York: Simultaneously Published.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24

How to Cite

ธนวิริยพันธุ์ ส. ., พันธุ์ประเสริฐ ว. ., & มาเบ้า ส. . (2018). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5M MODEL. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 51–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248507