บทบาทของวัดในการสื่อความหมายด้านอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การสื่อความหมาย, อัตลักษณ์, ชาติพันธุ์, วัด, ราชบุรีบทคัดย่อ
อำเภอโพธารามมีวัด 71 แห่ง มีกลุ่มชาติพันธุ์ 5 กลุ่ม คือ ไทยมอญ ไทยลาวเวียง ไทยจีน ไท-ยวน และไทยเขมรลาวเดิม แต่ละชาติพันธุ์ใช้วัดทำกิจกรรมทางศาสนาและทางประเพณี วัดจึงเป็นสื่อของการถ่ายทอดเรื่องราวสะท้อนผ่านศิลปกรรมและกิจกรรมภายในวัด การวิจัยนี้มุ่งประเมินบทบาทของวัดในการสื่อความหมายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทของวัดในการสื่อความหมาย อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ฯ ตัวอย่างคือ ประชาชนทั้ง 5 ชาติพันธุ์ในอำเภอโพธาราม จำนวนชาติพันธุ์ละ 80 คน อายุเฉลี่ย 45.04 ปี เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า การประเมินบทบาทของวัดในการสื่อความหมายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.54) โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมทางประเพณีของชาติพันธุ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์อยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่ 1 (x̄ = 3.63) และแนวทางเสริมสร้างบทบาทของวัดในการสื่อความหมายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.25) โดยวัดร่วมกับชุมชนจัดทำป้าย/บอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ไว้ในวัดเป็นอันดับที่ 1 (x̄ = 3.70)
References
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2552). การสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยวชุมชนของหมู่บ้านโนนเสลา. ขอนแก่น: สาขาสังคมวิทยา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทัศนาวดี แก้วสนิท. (2552). การสื่อสารเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อชาติไทยในรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ความหลากหลายของชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
นพรัตน์ ไชยชนะ. (2556). บทบาทและความสำคัญของวัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน): ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 14(2), 104-111.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น), พระปลัดเสน่ห์ ธมฺมวโร, ปรีชา วงศ์ทิพย์, และ พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ. (2554). รูปแบบและเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ราชบุรีศึกษา. (2559). 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559, จาก http://www. ratchaburi.go.th/culture/people/index.htm.
สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. (2555). บทบาทของวัดในประเทศไทยในการถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรมฉานในจังหวัด เชียงใหม่. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). บทบาทที่พึงประสงค์ของวัดและพระในการพัฒนาสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558, จาก http://www.opm.go.th.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ: กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ.
อำเภอโพธาราม. (2559). สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559, จาก http://www.amphoe.com/menu.php?am=531&pv=49&mid=1.
Barth, F. (1969). Ethnic Groups and Boundaries. The Social Organization of Culture Difference. Oslo: Universitetsforlaget.
Craig, G., et al., eds. (2012). Understanding 'Race' and Ethnicity: Theory, History, Policy, Practice. Policy Press.
Hagood, E. J. (2008). The Local Church as village: Gathering, Sharing, and Embracing our Contemporary African American Living Proverbs and Faith Stories. Theological School of Drew University for Doctor of Ministry. New Jersey: Drew University Madison.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต