รูปแบบการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ เพิ่มชาติ
  • ชญานันท์ เกิดพิทักษ์
  • กมล บุษบา

คำสำคัญ:

การดำเนินธุรกิจ, วิสาหกิจชุมชน, ผลผลิตทางการเกษตร, รูปแบบการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตร 2)  ศึกษาระดับปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์ 3)  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตร  และ 4)  นำเสนอรูปแบบการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี  โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตร จำนวน  19 คน  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) หรือจนกว่าข้อมูลอิ่มตัว (Saturated data)  ใช้วิธีเลือกแบบลูกโซ่ (Snowball sampling) ด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลและการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative approach) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประธานกลุ่มหรือผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่รับการประเมินศักยภาพในระดับดี จำนวน 498 คน ประมาณการขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเนแมน และเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 46-55 ปีประกอบอาชีพเกษตรกร การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท มีบทบาทหน้าที่ในกลุ่มเป็นประธานกลุ่ม ระยะเวลาในการก่อตั้งกลุ่มมากกว่า 5 ปี มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่ระหว่าง 10,000-30,000 บาท และจำนวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชน อยู่ระหว่าง 10-15 คน 2) ระดับการปฏิบัติตามปัจจัยในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ การจัดการคุณภาพการผลิต (x̄ = 4.03, S.D. = 0.50)  การจัดการทางการตลาด (x̄ = 3.98, S.D. = 0.47) การจัดการนวัตกรรม (x̄ = 3.98, S.D. = 0.49) และการเป็นผู้ประกอบการ (x̄ = 3.84, S.D. = 0.42) สำหรับผลการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.96, S.D.=0.42) เรียงลำดับดังนี้ จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น (x̄ = 4.08, S.D. = 0.96) จำนวนยอดขายสินค้าสูงขึ้น   ( x̄ = 3.41, S.D. = 1.15) และผลกำไรเพิ่มขึ้น (x̄ = 3.27, S.D. = 0.96) 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุนชนผลผลิตทางการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอิทธิพลทางบวก ได้แก่ การจัดการทางการตลาด (β = .46) การจัดการคุณภาพการผลิต (β = .33) การเป็นผู้ประกอบการ (β = .29) และการจัดการนวัตกรรม (β = .27) ตามลำดับ และ 4) รูปแบบดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1) การจัดการทางการตลาด (ก) ผลิตภัณฑ์ (ข) ราคา(ค) ช่องทางการตลาด  และ (ง) การส่งเสริมการตลาด 2) การจัดการคุณภาพการผลิต (ก) การควบคุมคุณภาพการผลิต (ข) การวางแผนคุณภาพการผลิต และ(ค) การปรับปรุงคุณภาพการผลิต 3) การเป็นผู้ประกอบการ (ก) การจัดการความรู้ (ข) ความเป็นอิสระ (ค) การดำเนินงานเชิงรุก (ง) ความเป็นผู้นำ  และ (จ) ความกล้าเสี่ยง และ 4) การจัดการนวัตกรรม (ก) นวัตกรรมการตลาด (ข) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และ (ค) นวัตกรรมกระบวนการ

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.กัญญามน อินหว่าง, สุพจน์ อินหว่าง และอภิชาติ วรรณภิระ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
คณะทำงานถอดบทเรียนวิสาหกิจชุมชนดีเด่น. (2556). แนวทางการถอดบทเรียนวิสาหกิจชุมชนดีเด่น. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560, จาก http://www.sceb.doae.go.th/pr4-sceb.html.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
ธนัณชัย สิงห์มาตย์ และพรรษวดี พงษ์ศิริ. (2559). การใช้รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 27(1), 265-280.
นงลักษณ์ ทองศรี. (2559). รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นุจรี ภาคาสัตย์ และธีรัตม์ พิริยะพลิน. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการVeridian - E-Journal. 8(2).
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.
พยัต วุฒิรงค์. (2557). การจัดการนวัตกรรม: ทรัพยากร องค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ฟิลิปคอตเลอร์ และมิลตัน คอตเลอร์. (2556). 8 เส้นทางสู่ชัยชนะ: การตลาดเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ.แปลโดย ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ จาก Market Your Way to Growth. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
ส่วนบริหารจัดการงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย. (2560). ผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจ ชุมชน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560, จาก http://www.sceb.doae.go.th/EVALUATION.html.
เสรี พงศ์พิศ. (2546). แผนชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาไทย.
สุเมธ สมภักดี. (2550). ทฤษฎีการเลือกตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นท์ติ้ง.
สาทิตร์ ม่วงหมี, ศลิล วัชรพงษ์กิตติ และสุดาพร สาวม่วง. (2557). รูปแบบการตลาดที่ยั่งยืนของธุรกิจขนาดย่อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19(1), 20-33.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). จำนวนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนจำแนก ตามพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/ report_graph_smce_member.phplevelSearch=2&region=2&province=&amphur =&smce_type=1.
Fairoz, F. M., T. Hirobumi and Y. Tanaka (2010). Entrepreneurial Orientation and Business Performance of Small and Medium Scale Enterprises of Hambantota District Sri Lanka. Asian Social Science. 6, 34-46.
Micheels, E.T., & Gow, H.R. (2015). The Effect of Market Orientation on Learning, Innovativeness, and Performance in Primary Agriculture. Canadian Journal of Agricultural Economics. 63(2), 209-233.
Philip, M. (2010). Factors Affecting Business Success of Small & Medium Enterprises (SMEs). APJRBM. 1(2).
Wiklund, J., & Shepherd, D. (2005). Entrepreneurial orientation and small business performance: A configurational approach. Journal of business venturing. 20(1), 71-91.
Yang, C.C. (2008). Establishment of a quality management system for service industries. Total Quality Management. 17(9), 1129-1154.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24