ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้แต่ง

  • วันชัย ตาเสน

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การใช้อินเทอร์เน็ต, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต 2) ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต 3) เปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้ และ 4) แนวทางป้องกันผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2–4 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 370 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโดยให้คณะที่นักศึกษาสังกัดเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบสำรวจรายการ 2) แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และ 3) แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบเป็นรายคู่ในกรณีที่พบความแตกต่างโดยใช้วิธีเชฟเฟฟ์

ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับปานกลาง มีประสบการณ์ใช้ 6-10 ปี มีการใช้เฉลี่ย 1-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ แต่ละครั้ง 1-4 ชั่วโมง โดยใช้ทุกวัน ในช่วงเวลา 16.01-22.00 น. ใช้เพื่อความบันเทิง สนทนา พูดคุย โดยใช้อินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัย และมีค่าใช้จ่ายในการใช้ต่ำกว่า 50 บาท และ 50-200 บาท ต่อเดือน และส่วนใหญ่มีเจตคติที่ดีต่อการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตในภาพรวมมีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกมากขึ้น เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกมากขึ้น ยกเว้นด้านพฤติกรรมและด้านสุขภาพไม่เปลี่ยนแปลง 3) ผลการเปรียบเทียบผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ คณะ ชั้นปีต่างกัน และการมีคอมพิวเตอร์ใช้ส่วนตัว ได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านรายได้และสถานที่พักอาศัยได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน สำหรับนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันในด้านความรู้ จำนวนครั้งที่ใช้ วันที่ใช้ ช่วงเวลาที่ใช้ วัตถุประสงค์ของการใช้ และค่าใช้จ่ายในการใช้ ได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตด้านประสบการณ์ ระยะเวลาที่ใช้ และสถานที่ใช้ ได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน และ 4) สำหรับแนวทางป้องกันผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้ รัฐบาลควรพัฒนาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน สถาบันการศึกษาควรมีหลักสูตรการเรียนการสอนในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ร้านอินเทอร์เน็ตมีจิตสำนึกสอดส่องดูแลว่ากล่าวตักเตือน ผู้ปกครองมีบทบาทชี้แนะควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน และผู้ใช้ไม่โจรกรรมข้อมูลหรือแอบใช้รหัสผ่านของผู้อื่น

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโยลีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
ธนศักดิ์ ตันตินาคม. (2557). ผลกระทบการใช้เฟสบุ๊คต่อวิถีชีวิตนักศึกษา สาขาบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ธนียา ศรีวิพัฒน์. (2548). ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาศรี ศรีชัย. (2557). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พวงทอง ป้องภัย. (2540). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พันจันทร์ ธนวัฒน์เสถียร. (2543). สร้าง Web Page ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: สเอเชียเพรส.
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2557). สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปีการศึกษา 2557. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
วิชุดา โพธิ์เพชร. (2546). ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุณิสา มาณพ. (2550). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิกรานต์ เจียมจันทร์. (2555). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2559). จำนวนนักศึกษาภาคปกติ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558. ข้อมูลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
อภิรัฐ จันทร์เทพ. (2546). การศึกษาปัญหาของนักเรียนวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08

How to Cite

ตาเสน ว. . (2020). ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1–20. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248503