ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ
  • สุวรรณา จุ้ยทอง
  • กันต์ฤทัย คลังพหล

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, สมการ, สระบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหากับเกณฑ์ร้อยละ 55 ของคะแนนเต็ม และเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 42 คน ได้มาโดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 55 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่า t เท่ากับ 3.365) 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่า t เท่ากับ 22.685)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรนันท์ พึ่งกลั่น. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อความ สามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านค่ายจังหวัดระยอง. ปริญญานิพนธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน (การสอนคณิตศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเพทฯ: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิราศ จันทรจิตร. (2555). การออกแบบหลักสูตร Curriculum Design. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2548). บนเส้นทางที่สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การสอนคณิตศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอนและการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัสสนิทวงศ์การพิมพ์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การอบรมครูด้วยระบบทางไกล. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (2561). กลุ่มสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=1902.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). การสำรวจการมีการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Cindy E. Hmelo-Silver. (2004). Problem-based learning. What and How Do Student Learn?. Education Psychology Review, 16(3), 235-266.
Tientong, S. (2010). The Development of Problem Solving Ability of Fifty Grade Student Tough by Problem-based Learning Approa ch. Master Thesis: Silpakorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22