การศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและแรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎี การสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Genre-Base Approach) ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน (Narrative Genre Features)

ผู้แต่ง

  • บังอร อินทรา
  • กิตติคม คาวีรัตน์

คำสำคัญ:

ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ, แรงจูงใจ, วิธีสอนตามแนวทฤษฎี, การสอนภาษาแบบอรรถฐานด้วยอรรถลักษณะของนิทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง  โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Genre-based approach) ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน (Narrative genre features) และ 2) ศึกษาแรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐานด้วยอรรถลักษณะของนิทาน เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษ (อ14101) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบวัดแรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที แบบกลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่งโดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ แรงจูงใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน ด้วยอรรถลักษณะของนิทาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กนกกร เกษมสุขจรัสแสง. (2547). การเปรียบเทียบความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนอ่านด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกห์ (MIA) กับวิธีการสอนอ่านตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
กนิษฐา แสงสว่าง. (2551). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
กัลยา รสสูงเนิน. (2548). ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพุทธจักร สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ขจรศักดิ์ สุนลี. (2545). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีเรียนแบบ CIRC ประกอบกับการใช้สื่อในชีวิตประจำวัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
จิตรา ปัญญฤทธิ์. (2553). การเปรียบเทียบความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของ
นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ที่ได้รับการสอนอ่านตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน(GENRE–BASED APPROACH) กับการสอนตามคู่มือครู (Teacher Manual). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ปรารถนา เจริญวงศ์. (2552). การศึกษาความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลจอมบึง ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการสอนอ่านตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (GENRE–BASED APPROACH) โดยอรรถลักษณะของการเล่านิทาน (NARRATIVE GENRE FEATURES). วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2553). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภัทธิรา ศรีอ่อน. (2556). การศึกษาความเข้าใจและแรงจูงใจต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองตาแต้ม (ราชประชานุกูล) ด้วยวิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (GENRE–BASED APPROACH) โดยใช้อรรถลักษณะของหนังสือพิมพ์(NEWS REPORT GENRE FEATURES). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2551). สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
วรรณสโรบล รุจิร์ญานันทว์. (2553). การศึกษาความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ คลองสิบสาม ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สงวนศรี โทรอค. (2547). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและเจตคติในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนตามแนวทฤษฎี การสอนภาษาแบบอรรถฐานกับการสอนแบบเดิม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการศึกษา มหาวิทยาลัยอีดิธ โคเวน ออสเตรเลีย.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สุขุมาล ปาสาเนย์. (2554). การเปรียบเทียบความเข้าใจและจูงใจต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดช่องนนทรี สำนักงานเขตยานนาวากรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฏีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (GENRE–BASED APPROACH) โดยใช้อรรถลักษณะของนิทาน (NARRATIVE GENRE FEATURES) กับการสอนตามคู่มือครู (TEACHER’S MANUAL). วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สุภาณี พงศ์พุทธชาติ. (2551). การเปรียบเทียบความเข้าใจและความสนใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนอ่านตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (GENRE-BASED APPROACH) กับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
Canale, M., & Swain, M. (1980). Approach to communicative competence. Singapore: Seameo Language Centre.
Cohen, A. D. (1980). Testing language ability in the classroom. Rowler, MA: Newbury House.
Hussien, M. G. (2001, January). The relationship between motivation to reading achievement in grade kindergarten through third. Dissertation Abstract International. 59(7), 23-53.
Richards, J. C. & Rogers, T. S. (1985). Approached and methods in language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22