การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดในตลาดนัดของจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์ทางการตลาด, ผู้ขายในตลาดนัด, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิถีชีวิตของผู้ขาย 2) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคและปัจจัยการตลาด และ 3) วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบายที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณผู้ขายในตลาดนัดที่มีแผงเป็นของตนเอง จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่เป็นผู้ขายที่สุ่มโดยอาศัยความไม่น่าจะเป็นด้วยวิธีแบบบังเอิญ จำนวน 520 คน และผู้บริโภคที่สุ่มโดยอาศัยความไม่น่าจะเป็นด้วยวิธีแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและแบบสอบถามปลายปิด มีความเชื่อมั่น 0.941 และ 0.788 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) วิถีชีวิตของผู้ขาย ใช้เงินตนเองลงทุน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า อาชีพผู้ขายอิสระ สืบทอดจากครอบครัว เพื่อนแนะนำ ทดลองขาย ลักษณะการขายเป็นแบบซื้อมาขายไป เลือกซื้อจากร้านค้าส่งและแหล่งผลิต เลือกขายสินค้าที่ตนมีความถนัด สิ่งยึดเหนี่ยวเป็นของขลังและความเชื่อ รายได้และการทำบัญชีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ความสัมพันธ์มีทั้งบวกและลบ เศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการขาย ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จเป็นเรื่องการแต่งกายของผู้ขาย ผู้จัดการการตลาดต้องการให้รักษาความสะอาด 2) ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า 3–5 ครั้งขึ้นไป ในช่วงเวลาเย็นและปัจจัยทางการตลาดเน้นที่ราคา และ 3) กลยุทธ์ทางการตลาดควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ จัดจำหน่ายสามตลาดนัดต่อสัปดาห์และช่วงเย็น ข้อเสนอแนะ คือ ภาครัฐควรจัดอบรมกลยุทธ์ทางการตลาดให้ผู้ขาย
References
ทัศนา หงส์มา. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้ซื้อในตลาดนัด : กรณีศึกษาตลาดนัดในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ปวีณ์สุดา พงษ์โอภาส. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจำหน่ายสินค้าตลาดนัดของผู้ขาย เขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พอเจตร์ เรืองกลัด. (2552). การศึกษาวิวัฒนาการของตลาดนัดและวิถีชีวิตของชาวตลาดนัดคลองถม แหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ไพพร โพธิ์สุวรรณ. (2552). การปรับตัวของผู้ประกอบการค้าภายในตลาดนัดจตุจักร. สารนิพนธ์หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2559, จาก http://www.ipernity.com/blog/248956/424773.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต