การศึกษาระดับสมรรถนะบุคลากร เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ที่ 6 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ศรีอินทร์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชยุต ภวภานันท์กุล สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ยุทธศาสตร์, บุคลากร, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติของบุคลากรกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับสมรรถนะบุคลากรของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยจำแนกออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 216 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา และแบบตามสะดวก เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น = 0.961 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบเป็นรายคู่ในกรณีที่พบความแตกต่างโดยใช้วิธีของเชฟเฟฟ์

ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ของบุคลากรกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีระดับสมรรถนะหลัก และระดับสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 4.26) โดยสมรรถนะด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม                (ร้อยละ 4.63) อยู่ในอันดับแรก รองลงมาคือ  การบริการที่ดี (ร้อยละ 4.48) การทำงานเป็นทีม (ร้อยละ 4.46) ด้านการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน (ร้อยละ 4.44) และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (ร้อยละ 4.41) 2) ผลการเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับสมรรถนะบุคลากรของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สังกัด ประเภทบุคลากร และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีระดับสมรรถนะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). คู่มือคำอธิบายสมรรถนะของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กระทรวงมหาดไทย (2551). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กลมรัตน์ แสนใจงาม. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต นโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543). Competency-based Human Resource Management. วารสารการบริหารคน, 21(ตุลาคม – ธันวาคม 2543), 11-18.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
เบญาภา เอกวัตร. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราตรีรัตน์ ทองรูปสวัสดิ์. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว กรณีศึกษาบริษัทเฌอแตมแทรเวล. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต กรุงเทพฯ.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.
สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สยามธุรกิจ. (2556). คน คือ สินทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.siamturakij. com/news/.
Davic C, McClelland. (1970). Testing for Competence rather than Intelligence. American Psychologist, 17(7), 57-83.
Taylor F.W. 1911. (2001). The Principle of the Scientific Management. (5thed.). In: Shafritz J. M. and J. S. ott, Classics of organization Theory. Orlando Florida.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24