รูปแบบการฝึกอบรมการใช้ปืนพกสั้นที่เหมาะสมของผู้ได้รับอนุญาต ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ พยากรณ์ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • วิชิต เรืองแป้น สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การฝึกอบรม, ปืนพกสั้น, การใช้ที่เหมาะสม, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการ แบบผสมผสาน เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกอบรมการใช้  ปืนพกสั้นที่เหมาะสมของผู้ได้รับอนุญาตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการ 4 ระยะ ระยะที่ 1 สำรวจการใช้ปืนพกสั้นของผู้ได้รับอนุญาต จำนวน 120 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการฝึกอบรม ระยะที่ 3 ยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 16 ท่าน ระยะที่ 4 นำรูปแบบไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย  30 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ๆ ละ 10 คน แบบการฝึกปฏิบัติการ

ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ปืนพกสั้นไม่มีความเข้าใจ และไม่สามารถปฏิบัติตามหลักการการใช้ ระยะที่ 2 รูปแบบการฝึกอบรมการใช้ ประกอบด้วย 6 ฐานความรู้ 29 หน่วยการเรียนรู้ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งรูปแบบเท่ากับ 0.93 มีความสอดคล้องทุกหน่วยการเรียนรู้ ระยะที่ 3 รูปแบบการฝึกอบรมที่สร้างมี่ความเหมาะสมกับผู้ได้รับอนุญาต ระยะที่ 4 ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังการฝึกอบรมทั้ง 3 รุ่น สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

รูปแบบการฝึกอบรมการใช้ปืนพกสั้นที่เหมาะสมของผู้ได้รับอนุญาตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 6 ฐานความรู้ 29 หน่วยการเรียนรู้ 1) ฐานความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้ปืนพกสั้น ประกอบด้วย 3 หน่วย 2) ฐานความรู้ด้านกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ประกอบด้วย 9 หน่วย 3) ฐานความรู้ด้านปืนพกสั้น ประกอบด้วย 4 หน่วย 4) ฐานความรู้ด้านเทคนิคการยิงปืนพกสั้นให้แม่นยำ ประกอบด้วย 6 หน่วย 5) ฐานความรู้ด้านการใช้งาน ประกอบด้วย 4 หน่วย และ 6)ฐานความรู้ด้านการยิงปืนพกสั้น เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบด้วย 3 หน่วย

References

กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2547). รายงานการศึกษาวิจัยประเมินผล การใช้ อาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังผ่านการอบรมใช้อาวุธปืนจากหลักสูตรต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2560, จาก http://research.police.go.th/report arvutpnpolice47.html.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2547) เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม2558, จาก www.charnvitkasetsiri.com/PattaniTehInterview.doc.
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2558). การวิจัยแบบผสม. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2(2), 10-14.
ธรรศ ทองคง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายสำหรับประชาชน ตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับอาสายุวกาชาด. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปกครองจังหวัดปัตตานี. (2556). ฐานข้อมูลอาวุธปืนพกสั้น. จังหวัดยะลา: กรมการปกครอง.
ประจิตร บุณยนิยม. (2560). คู่มือเทคนิคการยิงปืนพกให้แม่นยำ. ชลบุรี: ศูนย์การฝึกหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน, โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน.
ปิยะ กิจถาวร และคณะ. (2550). ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน กรณี: การอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนวทางแก้ไข.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรวีร์ จันทร์เรือง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้และการบำรุงรักษาอาวุธปืนพกสำหรับบุคคลทั่วไป. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภาส จารุพงษ์. (2547). การบังคับใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2540: ศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับอาวุธปืน
และเครื่องกระสุนปืน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิทยา สุขสมโสตร.(2557). หลักสูตร Basic level. GUNS TALK รู้ลึก รู้จริง เรื่องอาวุธปืน, 9(100), 150-157.
ศิริพร เพ็งจันทร์. (2555). ทัศนคติของประชาชนต่อการใช้อาวุธปืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษา ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2557). การรายงานเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (คู่มือ) ยะลา: ผู้แต่ง.
สุเนตร สุยะ. (2552). ผลของการฝึกสมาธิต่อความแม่นยำของนักกีฬายิงปืนยาวอัดลม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนทร พูนเอียด. (2542). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ในการบริหารการพัฒนา ชนบทสำหรับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดภาคใต้ตอนบน. ดุษฏีนิพนธ์ศิลปศาสตร, สาขาวิชาการวางแผนและพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เอื้องพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(1), 17-29.
Everett, S. A, Price, J. H. Bedell, A. W. Telljohann, & Susan K. (1997). Family practice physicians' firearm safety counseling beliefs and behaviors Journal of Community Health. 22(5), 313-24.
Pareek, U., and Roa, T. (1980). Training of Education Managers: A Draff Hand Book for Trainers in Planning and Management of Education. UNESCO: Bangkok Thailand.
Sanya, M. & Staff, W. (2015). Untrained gun users prove ineffective at self defense. Mount St. Mary’s University and the National Gun Victims Action Council. Retrieved October 21, 2017, from The Christian Science Momitor Website: https://www.csmonitor.com/USA/USA-pdate/2015/0728/Research-Untrained-gun-users-prove-ineffective-at-self-defense.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24