รูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งแบบสันติวิธี เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา ชมวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชยุต ภวภานันท์กุล สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ความขัดแย้ง, ทรัพยากรน้ำ, บึงบอระเพ็ด, นครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาสภาพปัญหาในปัจจุบันของการจัดการความขัดแย้ง และสร้างรูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการจัดการทรัพยากรน้ำในบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงอนาคตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มงานภาครัฐและส่วนราชการ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 18 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลและทำการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย 

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในปัจจุบันส่วนมากมีรูปแบบความขัดแย้ง ระหว่างภาครัฐกับชาวนามีสาเหตุจากการใช้น้ำในการทำนาในปริมาณที่มากจนส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ เช่น การประมง การท่องเที่ยว และระบบนิเวศน์ จนเกิดเป็นความขัดแย้งและยังไม่มีการจัดการที่ชัดเจน ส่วนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวนาด้วยกันเองที่เกิดจากการแย่งน้ำในการทำนา เมื่อเกิดปัญหาได้มีการแก้ไขปัญหาเป็นครั้งคราวด้วยการเจรจาต่อรองกันเองก่อน และการจัดการทรัพยากรน้ำโดยหน่วยงานภาครัฐและราษฎร์เป็นผู้บริหารร่วมกัน รูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งในอนาคต ได้แก่ การวางแผนงานอย่างชัดเจน การให้ข้อมูลข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ในทุกระดับ  การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม และการวางแนวทางการระงับข้อพิพาท

References

กิตติ เชิดชูกิจกุล. (2558). ปัจจัยด้านการจัดการสื่อสารอุทยานการเรียนรู้ที่มีผลต่อความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ปรัญญาดุษฎีบัณฑิต นวัตกรรมวิทยาการจัดการสื่อสาร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชวนะ มหิตธิชาติกุล ภวกานันท์. (2549-2550). เอกสารประกอบคำบรรยาย: ทฤษฎีการสื่อสารกับความขัดแย้ง. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความขัดแย้งแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เฉลิมศักดิ์ สารใจ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองแขมหลวง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณเรศ บัวเกศ. (2550). กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ป่าชายเลน. ภาคนิพนธ์ สาขาการจัดการความขัดแย้งแบบบูรณาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด. (2558). แผนการจัดการบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์.
Gene Sharp. (2006). Power Struggle and Defence. Extending Horizons Book.
Revilla, M. A. (2013). Choosing the Number of Categories in Agree-Disagree Scales. Sociological Methods & Research, (43), 73-97.
Stephen P. O. (2010). The New Public Governance?. Oxon USA: Routledge published.
Stephen P. R. (1983). Organizational Behavior: conceps, Centreversies and Application, (2nded.). New Jersey: Englewood Cliffs.
Stoner, A. F., & Wankel, C. (1986). Management, (3rded.). New Delhi: Perntice-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24