ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ, ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 2) ศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนอำเภอสัตหีบ จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเหนือผู้นำ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในอันดับที่ 1 2) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการกำหนดวิสัยทัศน์ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และ 4) ได้สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเหนือผู้นำ ดังนี้
References
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2555). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย Statistical Methods for Research. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2552). แนวโน้มภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พัชรินทร์ ไชยสมบัติ. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). ภาวะผู้นำและแนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับผู้บริหารส่วนท้องถิ่นภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น. 2(1), 121-148.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2551). การจัดและการพัฒนาองค์การทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
วิษณุ เครืองาม. (2554). เรื่องเล่าผู้นำ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศศิธร รักษาชนม์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสยาม.
สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์. (2550). สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัย (ฉบับปรับปรุง: สูตร และการแปลผล Computer Printout). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุกัญญา มีสมบัติ. (2557). ภาวะผู้ตามและประสิทธิภาพทีมงานที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุรางคนา มัณยานนท์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพครู: กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2555). การวิจัยด้านการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Blas. & Blase. (2001). Empowering Teacher: What Successful Principal do. Thousand Oaks: Corwin Press.
Manz, C. C., & Sims, H. P. J. (1991). Superleadership: Beyond the myth of heroic Leadership. Organ Dynamics, 19(4), 18-35.
McGregor, D. M. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw – Hill Book Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต