การส่งเสริมบทบาทของวัดในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในฐานะสื่อชุมชนเพื่อการแบ่งปันภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ:
บทบาทของวัด, การแบ่งปัน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, สื่อชุมชน, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของวัด ประเมินบทบาทของวัดและหาแนวทางส่งเสริมบทบาทของวัดในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในฐานะสื่อชุมชนเพื่อการแบ่งปันภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า วัดที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไปทำกิจกรรมเป็นประจำ คือ วัดวาปีสุทธาวาส (ร้อยละ 16.20) และไปไหว้พระขอพร (ร้อยละ 21.00) ลักษณะการมีส่วนร่วมในกิจกรรมคือ เป็นผู้มาร่วมกิจกรรมเพื่อสืบทอดพุทธศาสนา (ร้อยละ 45.00) สืบสานตามประเพณี (ร้อยละ 50.30) และร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยใช้พื้นที่ของวัด (ร้อยละ 30.00) บทบาทที่วัดกระทำในฐานะสื่อชุมชนเพื่อการแบ่งปันภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอันดับที่ 1 คือ วัดติดป้ายสุภาษิตให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต (ร้อยละ 71.50) ส่วนบทบาทที่วัดไม่ได้กระทำเป็นอันดับที่ 1 คือ วัดจัดพื้นที่ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ (ร้อยละ 41.80) และบทบาทที่ไม่แน่ใจว่าวัดได้กระทำหรือไม่เป็นอันดับที่ 1 คือ การใช้พื้นที่ของวัดจัดประชุมของหน่วยงาน/ของชุมชนในโอกาสต่าง ๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมแบ่งปันภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ (ร้อยละ 39.80) แนวทางส่งเสริมบทบาทของวัดในฐานะสื่อชุมชนเพื่อการแบ่งปันภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า วิธีการที่ใช้ส่งเสริมให้วัดเป็นสื่อชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97) โดยมีวัดและเครือข่ายจัดอบรมเยาวชนในชุมชนให้เป็นมัคคุเทศก์น้อยสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นเมื่อพาผู้มาเยี่ยมเยียนเข้าชม อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับที่ 1 ( = 4.52) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้โดยหน่วยงาน เช่น วัดต่าง ๆ คณะสงฆ์อำเภอจอมบึง นำองค์ความรู้ใช้เป็นสารสนเทศในการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของวัดตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดราชบุรีในการนำกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ยกระดับสังคม คุณธรรม และชุมชนให้เข้มแข็ง
References
-------. (2558). แผนพัฒนาจังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ 2560. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ปวีณา งามประภาสม. (2557). แนวทางการฟื้นฟูประเพณีตานตอด. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 6(11) สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/ article/view/4578.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). วัดไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้. เล่ม 19. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
พระปรีชา ผุดคำ. (2554). ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนระหว่างวัดกับชุมชน: ศึกษากรณีวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และเกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์. (2556). กระบวนการสืบทอดและแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษา การเล่นทายโจ๊ก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. ทสหรัฐอเมริกา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2559) ข้อมูลทะเบียนวัด. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
------. (2558). บทบาทของวัดในสังคม. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2558, จาก http://www.onab.go.th/. index.php?option=com_content&view=article&id.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). ข้อมูลประชากร พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
-------. (2555). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ: กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ.
อำเภอจอมบึง. (2559). สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559, จาก www.amphoe.com/menu.php?mid =1&am =526&pv=4.
Korean Buddhist temple. (2013). สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559, จาก http://whc.unesco.org/ en/tentativelists/5850/
Lawrence J. B., Choong-Ki Lee, Jeong-Ja Choi, Tai-Yang Seo and Bang-Sik Lee. (2014). A Buddhist temple and its users: The case of Bulguksa in South Korea. Contemporary Buddhism, 15(2), 199–215. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559, จาก http://dx.doi.org/10.1080/14639947.2014.977547.
Muslimin Machmud. (2013). Heritage media and local wisdom of Indonesian society. Global Journal of Human Social Science Arts & Humanities. 13(6), 57-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต