แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันตก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, นักท่องเที่ยวชาวไทย, ผู้สูงอายุชาวไทย, ภูมิภาคตะวันตกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยว ประเภท ลักษณะของการให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ พร้อมกับประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาคุณลักษณะ พฤติกรรม ความคาดหวัง และความพึงพอใจของท่องเที่ยวของผู้สูงอายุชาวไทย และหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ในภูมิภาคตะวันตก มีแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 303 แห่ง แบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันตกที่เหมาะต่อการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุชาวไทย มีศักยภาพสูง จำนวน 130 แห่ง วัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อน มีความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวมากกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้และแนวทางการพัฒนามี 4 แนวทาง คือ 1) การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว 3) การพัฒนาด้านการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย และ 4) การพัฒนาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). ประเภทและสถิติการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก https://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/files/ Tourism.pdf .
จินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2557). รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารพยาบาลทหารบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. 15(3 ก.ย. – ธ.ค. 2557), 123-127.
จินตนา เอี่ยมคง. (2558,3 พฤษภาคม). ศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวและสาธารณสุข. สัมภาษณ์ออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย.
นพพร จันทรนำชู. (2560). รูปแบบและเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th/default2018.asp.
นพรัตน์ พบลาภ. (2557). ผลกระทบจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่อชุมชนท้องถิ่นในภาคกลาง. สมุทรสาคร: คณะศิลปะศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร.
นิพน เชื้อเมืองพาน และคณะ. (2559). การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเภทแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนต้นแบบในภูมิภาคตะวันตกและระดับประเทศ. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th/default2018.asp
นฤมล จิตรเอื้อ และเขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2555). กลยุทธ์การจูงใจการท่องเที่ยวระยะยาวแบบเปี่ยมสุขของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างประเทศ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 7(2), 65-75.
เปรมศักดิ์ อาษากิจ. (2556). ตลาดผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.
รุ่งชัย ชวนไชยะกูล และคณะ. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเชิงนิเวศ ในเขต 4 จังหวัดภาคตะวันตก. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561, จาก https://elibrary.trf.or.th/default2018.asp.
ลัดขณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(1 กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561), 12-28.
เลิศพร ภาระสกุล. (2556). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะจังหวัดลำปาง. วารสารการประชุมวิชาการการพัฒนาอนาคตชนบทไทย ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554, 189-193.
ศูนย์เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวและการแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งเอเซีย. (2549). แนวทางการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: แสงสว่างเวิลด์เพรส.
Kamenidou, I. C., Mamalis, S. A., Priporas, C.-V., & Kokkinis, G. F. (2014). Segmenting Customers based on Perceived Importance of Wellness Facilities. Procedia Economics and Finance, Reviewed April 15, 2004 from Website
https://doi.org/10.1016/S2212-5671(14)00043-4
Pesonen, J., & Komppula, R. (2010). Rural Wellbeing Tourism: Motivations and Expectations. Journal of Hospitality and Tourism Management, 17(1), 150–157. Reviewed April 15,2004 from Website https://doi.org/10.1375/jhtm.17.1.150.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต