การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องสำหรับสับปะรดผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุจิตตรา จันทร์ลอย สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • สุธิดา ปรีชานนท์ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

สับปะรดบ้านคา, บรรจุภัณฑ์, ตราสินค้าบ้านคา, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, ราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องสำหรับสับปะรด ผลสดและสับปะรดแปรรูป 2) ทดลองใช้บรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องในกลุ่มเกษตรกร ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา 3) ประเมินผลการใช้บรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องในด้านการยกระดับมูลค่าสินค้า ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม และ 4) สร้างแนวทางการใช้บรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องอย่างมีส่วนร่วม พื้นที่ในการศึกษาได้แก่ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โดยศึกษากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 ตำบล การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีเชิงคุณภาพโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญมาจากกลุ่มเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของร้านค้าและผู้ซื้อสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องเพื่อใช้กับสับปะรด
ผลสดและสับปะรดแปรรูปภายใต้ตราสินค้าบ้านคา การออกแบบมีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของกลุ่มเกษตรกร ความต้องการของผู้บริโภคในด้านข้อมูลและคุณภาพสินค้า การนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ปลูก ความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ สื่อสารคุณภาพของสินค้าข้อความ ภาพลายเส้นและคิวอาร์โค้ดเชื่อมโยงยังเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลด้านกระบวนการผลิต  2) การทดลองจำหน่ายสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องประสบผลสำเร็จทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณการจำหน่าย โดยเจ้าของร้านจำหน่ายและผู้บริโภคมีความพึงพอใจในด้านคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าตั้งแต่ระดับมากถึงมากที่สุด (=4.12-4.61) 3) ผลที่เกิดขึ้นในด้านสังคม พบว่า มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐโดยมีข้อตกลงที่จะใช้ตราสินค้าบ้านคาร่วมกัน การกำหนดมาตรฐานการผลิตและผลผลิต การตั้งกรรมการประกันคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการดำเนินการเพื่อยกระดับสินค้าที่ใช้ตราสินค้าบ้านคาสู่ร้านจำหน่ายระดับบน และ 4) แนวการใช้บรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องเป็นการเชื่อมโยงองค์ประกอบด้านการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การสร้างกลไกการจัดการเพื่อรักษามาตรฐานตราสินค้าบ้านคา การร่วม กันวางแผนด้านการตลาด การพัฒนาความสามารถด้านการผลิตของกลุ่มเกษตรกรและการสร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่มเกษตรกร

References

กมลทิพย์ ชีวะวิชวาลกุล และวรสิทธิ์ วิมลประภาพร. (2551). ทัศนคติ และการยอมรับนวัตกรรม 3G บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนัย ศิริบุรี, ณรรฐวรรณ พูลสน และ ณัฐวรรณ. (2561). กับการใช้ QR Code ในกลุ่มสินค้าเกษตรร้าน Modern Trade จังหวัดอุดรธานี. วารสารแก่นเกษตร 46. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ตกเทรนด์. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.
บุษบา หินเธาว์. (2553). การพัฒนาการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาการทำเกษตรอินทรีย์ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งโรจน์. (2556). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์, 30(2), 25-41.
วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสร้างตราสินค้าที่ทำด้วยมือสำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกรณีศึกษาการออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการรายย่อยชุมชนขุนพัดเพ็ง.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ศศิพร ต่ายคํา, นรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันอาหาร. (2549). ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Traceability). สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก http://foodsafety.nfi.or.th/content.asp? menu_id=27.
สังคมแห่งการเรียนรู้. (2555). Checklist ของบรรจุภัณฑ์ที่ดี. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2550, จากhttp://knowledge.vayoclub.com.
สำนักงานเกษตร อำเภอบ้านคา. (2554). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558, จาก http://bankha.ratchaburi.doae.go.th/.
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2560). ประเภทบรรจุภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2560, จากhttp://www.brrd.in.th.
สุจิตตรา จันทร์ลอย (2560). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดจังหวัดราชบุรี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อัจฉรียา โชติกลาง และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์สับปะรด อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23

How to Cite

จันทร์ลอย ส. ., & ปรีชานนท์ ส. . (2020). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เล่าเรื่องสำหรับสับปะรดผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดจังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 121–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248345