การใช้นิทานอาเซียนเป็นสื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียน เพื่อการรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วนิดา ตรีสวัสดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

นิทานอาเซียน, วัฒนธรรมร่วม, พลเมืองอาเซียน, นักเรียนประถมศึกษา, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาการรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษา และ 3) วิเคราะห์การใช้นิทานอาเซียนเป็นสื่อรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดราชบุรี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาประเภทอนุภาคของนิทาน จำนวน 25 เรื่อง นำมาสังเคราะห์เพื่อหาวัฒนธรรมร่วมของประเทศอาเซียน วิธีการเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามผู้สอน จำนวน 70 คน และแบบสอบถามนักเรียน จำนวน 200 คน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) วัฒนธรรมร่วมของประเทศอาเซียนมี จำนวน 2 ประเภท ได้แก่ อนุภาคที่เกี่ยวกับตำนาน และอนุภาคที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต 2) การรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนจากนิทานอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.56, S.D. = .32) โดยมีการรับรู้เกี่ยวกับอาชีพอยู่ในระดับมากเป็นอันดับที่ 1 (= 4.03, S.D. = .64) และ 3) การใช้นิทานอาเซียนเป็นสื่อการรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.73, S.D. = .40) โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านจากนิทานอาเซียนเป็นอันดับที่ 1 (= 4.17,S.D. =.71)

References

กฎบัตรอาเซียน. (2558). สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559, จาก http://www.thai-aec.com.
กรมอาเซียน. (2557). อาเซียนสัญจร ครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2559, จาก http://www.mfa.go.th.
จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม. (2557). ลักษณะร่วมทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทยกับนิทานพื้นบ้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์. 6(1 มกราคม-มิถุนายน), 31-43.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13.). กรุงเทพฯ: หจก. บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภสินธ์ แผลงศร. (2555). การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 62-75. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559, จาก http://www.asia.tu.ac.th/journal/JStudies292/05 Napasin.pdf.
พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร. (2556). โครงการศึกษาวิเคราะห์หนังสือนิทานพื้นบ้านและนิทานอาเซียน สำหรับเด็ก. การประชุมวิชาการประจำปี 2556 (Thailand Conference on Reading 2013). สำนักงานอุทยานการเรียนรู้และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้.
วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). ความเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชนไทยระดับประถมศึกษา. วารสารสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 20(มกราคม-ธันวาคม), 246-256.
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2552). ตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำและชายฝั่งทะเลภาคกลาง: ความสมานฉันท์ในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 134.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (2560). ข้อมูลนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 28สิงหาคม 2560, จาก www.ratchaburi1.org/.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (2560). ข้อมูลนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559, จาก www.rb-2.net/.
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2559). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือหลักสูตรอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุนันทา เทศสุข และบารนี บุญทรง. (2559). การศึกษาอนุภาคนิทานเมียนมาจากผลงานการเรียบเรียงของนุ-หยี่ง. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13(3), 107-122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23

How to Cite

ตรีสวัสดิ์ ว. . (2020). การใช้นิทานอาเซียนเป็นสื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมของประชาคมอาเซียน เพื่อการรับรู้ความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 106–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/248344