มาตรการทางกฎหมายในการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร

ผู้แต่ง

  • นภัสรพี เดชางกูร นักศึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปัญญา สุทธิบดี สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การประกันภัย, พืชผลทางการเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรโดยทำการศึกษาสภาพปัญหา แนวคิดทฤษฎี เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อแสวงหาคำตอบตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 24 คน การสนทนากลุ่ม 30 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยผู้วิจัยได้สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับผลการศึกษา พบว่า การประกอบอาชีพของประชากรในภาคเกษตรกรรมมีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ และภัยทางธรรมชาติอันเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งด้านผลผลิต ภาวะการขาดทุน และหนี้สินในภาคครัวเรือน  ตลอดจนความมั่นคงในด้านการประกอบอาชีพ และต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรอันเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นการลดความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น หรือเป็นการเยียวยาความเสียหายจากภัยนั้น ๆ

อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศแล้ว ประเทศไทยควรกำหนดบทบัญญัติทางกฎหมายเป็นการเฉพาะต่อระบบการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร เพื่อให้มีความครอบคลุมและยั่งยืน อาทิ ด้านวัตถุแห่งการประกันภัย ด้านรูปแบบของการประกันภัย ด้านคุณสมบัติของผู้เอาประกันภัยและการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรมสามารถเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรของประเทศไทยได้อย่างเป็นระบบ  เกษตรกรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2560). รายงานการใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จุฑาทอง จารุมิลินท และคณะ. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินสำหรับเกษตรกร: กรณีศึกษาการประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีสภาพอากาศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.
ชฎา ณรงค์ฤทธิ์ และคณะ. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการประยุกต์ใช้ระบบภูสารสนเทศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อกำหนดเขตและรูปแบบที่เหมาะสมของกองทุนการปรับตัวในการประกันความเสียหายของผลผลิตข้าวจากอุทกภัยและภัยแล้งในจังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัลลาภ์ นุตะมาน. (2548). การประกันภัยทางการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วัลลาภ์ นุตะมาน. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการประกันภัยพืชผลของเกษตรกร. กรุงเทพฯ: สำนักเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สมาคมผู้ส่งออกข้าว. (2561). รายงานการส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ ปี 2561. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ส่งออกข้าว.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายได้มวลรวมประชาชาติผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศและรายได้ประชาชาติสุทธิ ตามราคาประจำปี จำแนกตามสาขาการผลิต พ.ศ. 2551-2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). สถานการณ์การผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจผู้ถือครองทำการเกษตรเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22